การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อสร้างชุมชนนักปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ไอซีทีของครูสังกัดสพฐ.

Main Article Content

ศยามน อินสะอาด
ฐิติยา เนตรวงษ์
ศิวนิต อรรถวุฒิกุล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ไอซีทีและการเข้าถึงไอซีทีที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู 2. เพื่อพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อสร้างชุมชนนักปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ไอซีที 3. เพื่อศึกษาผลการดำเนินการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อสร้างชุมชนนักปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ไอซีที  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมของรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู จำนวน 9 คน 2)  ผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมระดมความคิดเห็น 7 คน 3) ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบประเมินรูปแบบชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู 2) แบบสอบถาม 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบประเมินผลการดำเนินการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูสังกัดสพฐ.มี 5 องค์ประกอบ คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและแรงจูงใจภายนอก  ด้านสิ่งอำนวยความ

สะดวกและแรงจูงใจ ด้านกระบวนการ ด้านคุณลักษณะชุมชน และด้านผลลัพธ์  โดยมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x= 3.86, S.D.= 0.31) 2) ผลการดำเนินการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู มีสมาชิกเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู จำนวนทั้งสิ้น 94 คน และมีกลุ่มตัวอย่างที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งปันประสบการณ์สอนที่ดีโดยใช้ไอซีทีผ่านคลิปวีดิโอ จำนวน 42 คน ได้แก่ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี คิดเป็นร้อยละ 47.61 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 28.57  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 7.14  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา และ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 4.76  3) การประเมินผลการดำเนินการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู พบว่า การดำเนินการชุมชนมีระดับการปฏิบัติการอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงปณิธานความมุ่งมั่นขั้นพื้นฐานของครู  การเปลี่ยนแปลงการสอบ การเปลี่ยนแปลงเพื่อศิษย์  การเปลี่ยนแปลงการทำงานของครู การเปลี่ยนวัฒนธรรมของโรงเรียน นอกจากนี้ ครูในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูมีทักษะการใช้ ICT เพื่อการสอน เพิ่มความมั่นใจในการสอน  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ ICT เพื่อบูรณาการในการสอน มีแรงบันดาลใจในการพัฒนาผู้เรียนของตน

 

         This research aimed to 1) study the model of using ICT and accessing ICT to develop the professional learning community of practice, 2) develop the professional learning community of practice to enhance the practical community using ICT for instruction, 3) study the practical result of professional learning community of practice. The samples were 1) 9 experts to evaluate the appropriateness of professional learning community of practice model, 2) 7 experts for brain storming 3) 42 teachers from school under basic education commission. Research instruments consisted of 1) evaluation form for professional learning community of practice 2) questionnaire 3) interview form 4) evaluation form for management of professional learning community of practice. The data was statistically analyzed by frequency, percentage, mean (x) and standard deviation (S.D.). The research findings were as follow: 1) the professional learning community of practice model consisted of 5 components; external facilitators and inhibitors, internal facilitators and inhibitors, process, characteristics and outcomes. The appropriateness of professional learning community of practice was at the level of “most” (x = 3.86, S.D. = 0.31) 2) 94 teachers joined the community of practice and 42 teachers used ICT via video clip to share knowledge and good teaching experience. There were 47.61% of occupation and technology learning group, 28.57% of science learning group, 7.14% of mathematics and foreign language learning group, and 4.76% of social science and Thai language learning group. 3) The evaluation of community of practice for teachers was found that the management of community of practice for teachers was totally at the level of “most” including the change of teachers’ basic desire, the change of examination, the change for students, the change of teachers working style, the change of school culture. In addition, the professional learning community of practice gained ICT skills for instruction, confidence on teaching, sharing knowledge skill, good attitude on ICT integration for instruction, and inspiration for developing the students.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ