การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ บูรณาการธรรมชาติวิทยาศาสตร์ สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

สาวิตรี สิทธิชัยกานต์
มารุต พัฒผล
วิชัย วงษ์ใหญ่
โชติมา หนูพริก

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้บูรณาการธรรมชาติวิทยาศาสตร์สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา และศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้บูรณาการธรรมชาติวิทยาศาสตร์สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา โดยดำเนินการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรฉบับร่าง และตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ  ขั้นที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรกับครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และขั้นที่ 4  การประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงหลักสูตร

           จากการดำเนินการวิจัยทั้ง 4 ขั้นตอน ทำให้ได้หลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้บูรณาการธรรมชาติวิทยาศาสตร์ที่มีองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ คือ1)ความสำคัญ 2) หลักการของหลักสูตร 3)วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 4)เนื้อหาสาระของหลักสูตร 5)กิจกรรมการเรียนรู้ของหลักสูตร  6)สื่อการเรียนรู้  7)สถานที่ฝึกอบรม 8)ระยะเวลาฝึกอบรม  และ 9)การวัดและประเมินผล โดยใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรม จำนวน 12 สัปดาห์ ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตร  2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และระยะที่ 2 การนำความรู้สู่การปฏิบัติจริง เป็นกระบวนการพัฒนาให้ผู้รับการฝึกอบรมโดยนำความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมาปรับประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้จริงของครูแต่ละคนโดยใช้วงรอบการพัฒนา 1)การวางแผน  2)การปฏิบัติ  3)การตรวจสอบ และ 4)การสะท้อนคิด โดยดำเนินการ 3 วงรอบและมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่องทั้งด้านความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์  ด้านความสามารถจัดการเรียนรู้บูรณาการธรรมชาติวิทยาศาสตร์  และด้านความตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติวิทยาศาสตร์  ผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรพบว่าครูที่ได้รับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้บูรณาการธรรมชาติวิทยาศาสตร์สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

 

              The objectives of this research were to develop a training curriculum to enhance the ability of secondary school teachers regarding the integrated nature of science in learning management, and also to evaluate the effectiveness of this curriculum.  This curriculum consists of a four step process. The first step was based on a line study. The second step  developed  a draft of the curriculum, wich was evaluated by specialists. The third step was the implementation of the curriculum. The samples were six science teachers in Anuratchaprasith School in the Nontaburi province. The fourth step was on evaluation of the effectiveness of the curriculum.

               Finally, we found that, the training curriculum was composed of nine elements: 1) problems and importance 2) principles 3) objectives 4) contents 5) learning management system 6) learning resources 7) training location 8) training period and 9) evaluation. The overall duration of training period was twelve weeks.The learning process was divided into two periods of time.  The first theory was knowledge sharing, and the second was transferring knowledge from theory into practice by using a development cycle such as 1) plan 2) do 3) check and 4) reflection. The evaluation focused on authentic assessment, including the nature of science concepts, the integrated nature of science in learning management, and an awareness of nature of science. The results of this evaluation show that 1) the teachers had a higher level of knowledge of the nature of science after the implementation of the curriculum at a statisticaly significant  level of .05; 2) the teachers had a higher level of  ability to use their knowledge of the  integrated nature of science in terms of learning management after the implementation of the curriculum at a statisticaly significant level of .05;  3) teachers had an enhanced awareness of the nature of science after the implementation of the curriculum at a statisticaly significant level of .05.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ