รูปแบบมวลประสบการณ์เชิงพื้นที่เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสิ่งแวดล้อมของนักเรียน ในชุมชนเหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ชรินทร์ มั่งคั่ง
เชษฐภูมิ วรรณไพศาล
ชัยณรงค์ จารุพงศ์พัฒนะ
ชญานิศวร์ ยิ้มสวัสดิ์
ชัชวาล บุตรทอง

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีประสงค์เพื่อพัฒนามวลประสบการณ์เชิงพื้นที่เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสิ่งแวดล้อมของนักเรียนในชุมชนเหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการเชิงพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย นักเรียน 60 คน ผู้ปกครอง 60 คน ผู้นำชุมชน  2 คน ภูมิปัญญาชน 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ครูผู้สอน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน รวม 132 คน เครื่องมือประกอบด้วย มวลประสบการณ์เชิงพื้นที่ แบบบันทึกภาคสนาม แบบประเมินพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาหลักสูตรได้สร้างรูปแบบมวลประสบการณ์เชิงพื้นที่ที่เรียกว่า 3P(PAOR) และการใช้มวลประสบการณ์เชิงพื้นที่ได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในด้านการอนุรักษ์น้ำ ด้านการรักษาความสะอาดและดูแลพื้นที่สีเขียวระดับมากที่สุด และด้านการเป็นพลเมืองดี อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ด้าน ส่วนด้านการอนุรักษ์พลังงาน ด้านการจัดการขยะ และด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน 

 

              The purposes of this research were to development of area based learning experience to enhancing environmental consciousness of students in Mae Moh mining community, Lampang province. This research was used  area-based action research (ABAR).The sample used in this research was 60 students, 60 parents of primary students, 2 community leaders, 3 organic intellectual, 3 teachers, 1 head of an educational institution and 3 expertise curriculum total 132 persons. The research tools were area-based learning experiences, field note form and evaluation form of students’ environmental conservation behaviors, contents analysis, unstructured interview and focus groups mean and percentage were employed for data analysis. 

               The findings found that the learning experience has create model of area-based learning experiences called 3P(PAOR) and using learning experiences encouraging  students the environmental conservation behaviors was at the highest level in water conservation , cleanliness and maintenance of green areas, good citizenship at the highest level. Addition the environmental conservation behaviors of students was at the high level in the energy conservation, waste management and cultural awareness at the high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ