การประเมินและปรับปรุงหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา และ 2) ปรับปรุง หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) ระยะประเมินหลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาบัณฑิต ผู้ใช้มหาบัณฑิต และอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวนทั้งสิ้น 388 คน 2) ระยะการปรับปรุงหลักสูตร ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม 4 ฉบับ และ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา ตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้านและทุกข้อ ยกเว้น ด้านความสอดคล้องของหลักสูตรกับนโยบายและกฎหมายการศึกษา 2) มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุงหลักสูตร ในสาระสำคัญ 2 ประการ คือ 2.1) เขียนวัตถุประสงค์ คำอธิบายชุดวิชาของชุดวิชาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความรู้ และมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ และ 2.2) ตรวจสอบหลักสูตรให้ตรงกับเกณฑ์และมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และคุรุสภากำหนด ทั้ง ด้านโครงสร้าง ด้านมาตรฐานความรู้และการปฏิบัติการวิชาชีพการบริหารการศึกษา และด้านมาตรฐานการผลิต

 

             The purposes of this research were 1) to evaluate the Master of Education Program in Educational Administration and 2) to improve the Master of Education Program in Educational Administration. The research divided into 2 stages; the evaluation stage and the improvement stage. The research sample in evaluation stage consisted of 388 Master graduate, graduate employers, and program lecturers. The improvement stage key informants comprised 5 experts and 6 program lecturers. The research instruments were 4 rating scale questionnaires and a focus group discussion question form. Statistics used for quantitative data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The research employed content analysis for qualitative data.

             The research findings revealed that 1) the overall and every aspect of program evaluation as perceived by the sample was rated at the pass level except the curriculum correspond to the education regulation and policy. 2) When the program improvement was considered, it was found that the program should be significantly improved on two matters; 2.1) the improvement on objective and course description correspond to knowledge and learning standards, and 2.2) the validity check of the correspondent of program and standard and criteria of Office of the Higher Education Commission and The Teachers' Council of Thailand in program structure, knowledge standard and professional practicum in educational administration as well as production standard.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ