แผนปฏิบัติการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

นันทิกา มากมาย
ชูชีพ พุทธประเสริฐ
ยงยุทธ ยะบุญธง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กร ระดับปัญหาความผูกพันต่อองค์กร และปัจจัยเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของแผนปฏิบัติการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการดำเนินการศึกษามี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กร ระดับปัญหาความผูกพันต่อองค์ และปัจจัยเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูในโรงเรียนเอกชนในเขต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 310 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)  2) การจัดทำแผนปฏิบัติการเสริมสร้างผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ร่วมกับผู้บริหารที่รับผิดชอบบริหารงานบุคคล หัวหน้าฝ่ายบุคคล จำนวน 27 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปแบบอุปนัย (Analytic Induction) 3) การตรวจสอบประสิทธิภาพของแผนปฏิบัติการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัยพบว่า

               1. ระดับความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าระดับความผูกพันต่อองค์กรของครู ลำดับที่ 1 คือ ความผูกพันต่อองค์กรด้านความรู้สึก รองลงมา คือ ความผูกพันต่อองค์กรด้านการคงอยู่ และลำดับที่ 3 คือความผูกพันต่อองค์กรด้านบรรทัดฐาน และแต่ละด้าน พบว่า ครูผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นไม่สอดคล้องกัน โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเกิน 1.00 ทุกด้าน ระดับปัญหาความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ด้านการคงอยู่ ลำดับที่ 2 ด้านบรรทัดฐาน และลำดับที่ 3 ด้านความรู้สึก และปัจจัยเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาปัจจัยแต่ละด้าน และเรียงตามลำดับ คือ 1) ปัจจัยด้านลักษณะความท้าทายของงาน และปัจจัยด้านความสัมพันธ์ต่อเพื่อน2) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ต่อผู้บังคับบัญชา 3) ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในงาน และการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน 4) ปัจจัยด้านความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และ5) ปัจจัยด้านอัตราค่าจ้าง

               2. แผนปฏิบัติการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่จัดทำขึ้นประกอบด้วย คำชี้แจงการใช้แผนปฏิบัติการ จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย ปัจจัยเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กร โครงการ ประกอบด้วย 7 โครงการ กิจกรรม ประกอบด้วย 18 กิจกรรม วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ และปฏิทินการปฏิบัติงานที่ประกอบด้วย ลำดับที่ วัน เดือน ปี โครงการ กิจกรรม ความผูกพันต่อองค์กร และผู้รับผิดชอบ

               3. ผลตรวจสอบประสิทธิภาพของแผนปฏิบัติการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า แผนปฏิบัติการมีความถูกต้อง มีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง

 

              The objectives of this research were 1) to study levels of the organizational commitment, problem levels of the organizational commitment, and factors to promote the organizational commitment of private school teachers, Mueang district, Chiang Mai province, 2) to construct the action plan to promote the organizational commitment of private school teachers, Mueang district, Chiang Mai province, and 3) to examine the efficiency of the action plan to promote the organizational commitment of private school teachers, Mueang district, Chiang Mai province.  There were three steps of this study as follows: 1) to study the  levels of the organizational commitment, problem levels of the organizational commitment, and factors to promote the organizational commitment. The samples were private school teachers, Mueang district, Chiang Mai province, academic year 2016, in a total of 310 respondents, an instrument used was a questionnaire; and the data were analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation. To construct the action plan to promote the organizational commitment of private school teachers, Mueang district, Chiang Mai province by workshop with administrators who in charge with personnel administration, personnel leader, a total number of 27 respondents, The data were analyzed by using analytic induction. 3) to examine the efficiency of the action plan to promote the organizational commitment of private school teachers, Mueang district, Chiang Mai province to examine the efficiency of the action plan to promote the organizational commitment of private school teachers, Mueang district, Chiang Mai province by 9 school directors, and the data were analyzed by using frequency and percentage

 

             The study results showed that

             1. As regards the levels of the organizational commitment of private school teachers in overall were at a moderate level. When considering each aspect, it was found that the first level of teacher organizational commitment was the organizational commitment concerning feelings, followed by the organizational commitment concerning persistence, and the third level was the organizational commitment concerning the norm and individual. It was found that by each aspect, teachers responded inconsistently with the standard deviation was more than 1.00. The problem levels of the organizational commitment in overall were at a high level. When considering each aspect from high to low level, it was found that the first level was persistence, the second level was norm, and the third level was feelings; and factors enhancing the organizational commitment of private school teachers in overall were at a high level. When considering each aspect in order of priority level such as 1) factors concerning the challenge of the job and relationship with friends; 2) factors concerning relationships with bosses; 3)factors concerning work progress and participation in the administration; 4) factors concerning the independence of performance and environment of performance; and 5) factors  concerning the wage.

             2. The action plan to promote the organizational commitment of private school teachers, Mueang district, Chiang Mai province was constructed by composing of instruction of planning implementation, purpose, goals including promoting the organizational commitment, 7 projects, 18 activities, objectives, indicators of achievements, duration, responsibilities and calendar of operations, including sequences, dates, projects, activities, the organizational commitment, and responsible person.

 

             3. The efficiency of the action plan to promote the organizational commitment of private school teachers, Mueang district, Chiang Mai province showed that the action plan was accurate, appropriate, and possible for the real implementation.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ