การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์หัวหน้าหน่วยงาน พี่เลี้ยงหน่วยงานที่เป็นหน่วยฝึกประสบการณ์ ขั้นตอนที่ 2 ร่างรูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และประเมินรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่ม พื้นที่การศึกษาคือ หน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 10 หน่วยงาน เทคนิคที่ใช้ในการวิจัย คือ การสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

             ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

             1.  ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ เน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการกระทำ ฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียน เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สอนให้นักศึกษาเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ วิธีการประเมินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพมีความเหมาะสม มีการกำหนดเกณฑ์และคะแนนที่ชัดเจน เนื้อหาและกิจกรรมที่ต้องให้กับนักศึกษาก่อนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ความรู้เรื่องโปรแกรม Excel การสนทนาภาษาอังกฤษ การพัฒนาบุคลิกภาพ การเตรียมให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อการฝึกวิชาชีพ ควรให้นักศึกษาได้ศึกษาจากสภาพจริงและให้นักศึกษากลับมาอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นักศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจการทำงานเป็นทีม การสนับสนุนด้านงบประมาณ เครื่องมือ สื่อ อุปกรณ์ เวลาและอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม การออกนิเทศ การแนะนำแหล่งการเรียนรู้ รวมทั้งการสร้างขวัญและกำลังใจ ให้กับอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพ นักศึกษาได้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติสอดคล้องกับความต้องการของหลักสูตรและหน่วยงาน นักศึกษาต้องเห็นความสำคัญในการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน และมีความรู้ความเข้าใจในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 

               2. ผลการร่างและประเมินรูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาจากการสนทนากลุ่ม พบว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ควรจัดทั้งในและนอกห้องเรียน ตามรูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ประกอบด้วย 4  ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่  1 สร้างประสบการณ์ ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน เพื่อสร้างและเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมเข้ากับ สถานการณ์ใหม่ ขั้นตอนที่ 2 การอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแบ่งปันประสบการณ์จากขั้นที่  1 มาเล่าให้เพื่อนหรือสมาชิกหน้าห้องเรียนฟัง การอภิปรายอย่างอิสระ หรือการสัมภาษณ์ ขั้นที่ 3 สรุปความคิดรวบยอด ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปหลักการ ทฤษฎี เป็นประสบการณ์ใหม่หรือความรู้ใหม่ ขั้นที่ 4 การประยุกต์ใช้ ผู้เรียนทำความเข้าใจและร่วมกับผู้สอนสรุปหลักการ ทฤษฎี และสามารถอ้างอิงความรู้ที่ได้รับไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

              This research aimed to study and develop model of experience training of student Bachelor of Education Program in Lifelong Education, Faculty of Education, Silpakorn University. The research divided into 2 steps; 1) to study information from interviewing head of department or trainers in university, department or organization that was structured training department, 2) to create form of experience training of student and take to arrange group discussion for evaluating form. The area of research was experience training center form 10 departments. The techniques that in this research conducted by synthetizing document, interview and focus group. The instruments used were interviews, group recordings, and group discussions. Analysis of data by content analysis.

               The results of research were as follows :

               1. The interview result of former step found that experience training was training and they can apply knowledge, theory and operation to actual working as per situation properly; students learn from actions and training outside the class. They learned from experts and it focused on activities; taught students to connect theory to action; the evaluation of experience training was evaluated by actual perform and evaluate real situation. The evaluation was continuously from many departments. There were clear points and rules; content and activities that should be contained about knowledge of Excel program, using office automation English conversation, development of personalities and aimed to shift attitudes on experience training; student should have opportunity to study actual situation and discuss and exchange experiences; students had to know and understand about process, step, means and responsibility of member in the team; factors that useful for experience training of students was concluded that support about budget of equipment, media, time, help to facilitate about arranging activity, supervision, suggesting about learning resources and also cheer up teachers and students to support student to have opportunity to develop knowledge and understanding of career; students had experience from actual action conform to requirement of students, organizer; student could realize importance and understand about experience training. There are a lot of burden of teaching of teacher; therefore, the supervisions were happened different time.

               2. Draft form of experience training of students and bring to arrange group discussion to evaluate and arrange group discussion to consider relationship of experience training of student. It was found that arranging experiences from learning should be arranged inside and outside classroom. The forms of experience training consisted of 4 steps which were 1st step : Concrete Experience, students perform activity which concerned with content in order to build and connect old experiences with new situation.  2nd Step : Reflective Observation, shared experience for 1st step and told to other students in front of the class, independent discussion or interview. 3rd Step : Abstract Conceptualization, learners and teachers concluded principal together. The theory was new experience or new knowledge. 4th Step : Active Experimentation, learners understood and corporate with teacher to conclude principle and theory; moreover, learners could refer knowledge which was gain to apply in different situations efficiently.  The form of experience training which researcher developed should focus on qualification of students for 3 aspects which were attitude, characteristics and habit and knowledge and skills with learning from experiences. The experience training of student will be efficient should think of factors that was useful for experience of career 3 aspects which were 1. Support about budget tools, media, equipment, time and facility of activity’s arrangement 2. Suggest learning resource 3. Encourage teachers and students to support student to have opportunity about developing knowledge and understanding of career.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ