การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

Main Article Content

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์

Abstract

             การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชนช่วยให้โรงเรียนและชุมชนเกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ช่วยลดปัญหาความขัดแย้ง และช่วยให้เกิดความร่วมมืออันดีต่อกัน ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามบทบาทของตนด้วยวิธีการที่เหมาะสม จึงจะสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นได้

              บทบาทหน้าที่สำคัญของโรงเรียนต่อชุมชน คือ บทบาทในการให้การศึกษาอบรมแก่บุคลากรในชุมชน ส่วนบทบาทสำคัญของชุมชนต่อโรงเรียนคือบทบาทในการมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการจัดการศึกษา การให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดการศึกษาและ บทบาทในการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียน

              การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีแนวทางในการดำเนินการสองแนวทาง คือ 1) การสร้างความสัมพันธ์ทางตรง ประกอบด้วยวิธีการหลัก 2 ประการ ได้แก่ การนำโรงเรียนออกสู่ชุมชน และ การนำชุมชนเข้ามาสู่โรงเรียน และ 2) การสร้างความสัมพันธ์ทางอ้อม โดยการพัฒนาให้บุคลากรมีมนุษยสัมพันธ์อันดี สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ การปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนให้สะอาด ปลอดภัย ร่มรื่น สวยงามเป็นที่ประทับใจแก่ผู้มาเยี่ยมเยือน

 

             Establishing good relationship between the school and community helps to create good understanding between the school and community, reduces conflict problems, and helps to create good school-community cooperation.  In establishing the good relationships, both the school and the community must practice their roles appropriately which will lead to the establishment of good relationships between them.

             The school’s main role and duty toward the community is the role of providing education and training for people in the community; while the community’s main roles and duty toward the school are the role of participating for determination of the direction of educational provision, the role of providing cooperation and supports for educational management, and the role of monitoring, follow up and evaluation of the school’s operation.

             There are two approaches for establishing school-community relationships: (1) the direct approach which comprises two main methods, namely, bringing the school to the community, and bringing the community to the school; and (2) the indirect approach which comprises the development of school personnel to have good human relationship and to perform their work efficiently, and the improvement and development of the school environment to be clean, safe, serene and beautiful that will attract and impress all visitors to the school. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ