ภาพอนาคตการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบทีวีดิจิตอลของ ประเทศไทยใน 5 ปีข้างหน้า

Main Article Content

พิทักษ์ ไปเร็ว
นำชัย ทนุผล
นรินทร์ สังข์รักษา

Abstract

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ข้อมูลพื้นฐานและการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบดิจิตอลของประเทศไทย 2) วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบดิจิตอลของประเทศไทย 3) รับรองยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบดิจิตอลของประเทศไทย โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการด้านการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ระบบดิจิตอลในประเทศไทย วิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) จากเอกสารหนังสือ ตำรา แผ่นพับ สื่อชนิดต่างๆ และอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 9 คน 2) วิเคราะห์และร่างยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบดิจิตอลในประเทศไทย โดยการใช้เทคนิคการวิจัยแบบอนาคต EDFR ทั้ง 2 ครั้ง รวมจำนวน 24 คน 3) ผู้วิจัยดำเนินการจัดเสวนาสร้างสรรค์ปัญญา (Seminar Forum) เพื่อรับรองข้อเสนอเชิงนโยบาย (Policy Meeting) มีผู้เข้าร่วมได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 17 คน

               ผลจากการวิจัยพบว่า (1) สภาพการณ์ของการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบดิจิตอลของประเทศไทย 1) การพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรขาดการเตรียมการที่ดีและขาดการให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม การเตรียมความพร้อมในการผลิตบุคลากรทางด้านระบบทีวีดิจิตอลไม่เพียงพอที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 2) ผู้ประกอบการในช่วงระยะเริ่มต้นต้องการบุคลากรที่มีประสบการณ์ เชี่ยวชาญ ให้อยู่รอดได้เร็วที่สุดมุ่งเน้นที่จะซื้อตัวบุคลากรมากกว่าการพัฒนาจากภายในองค์กร 3) ผู้ประกอบการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรภายในโดยการปรับเปลี่ยน โยกย้าย หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่มีประสบการณ์ไปปฎิบัติงานก่อนให้เหมาะสมที่สุด (Put the right man in the right job) 4) บุคลากรที่มีความสำคัญที่สุดทำให้คุณภาพรายการโทรทัศน์ที่จะทำให้มีเรทติ้งสูงมีผู้ชมจำนวนมากและสะท้อนต่อรายได้ ได้แก่ เจ้าของสถานประกอบการ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ ครีเอทีพ (Creative) นักตัดต่อ (Editor) ผู้ดูแลด้านเสียง (Sound Engineer) และผู้ดูแลด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิค (Computer Graphic) 5) สถานประกอบการสถานีโทรทัศน์ระบบทีวีดิจิตอลมีความต้องการที่จะพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบทีวีดิจิตอล 6) สถาบันการศึกษามีการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะในหลักสูตรเกี่ยวข้องกับอุตาสหกรรมโทรทัศน์ระบบทีวีดิจิตอลโดยตรงมีจำนวนน้อยแต่มีความรู้ ความสามารถหลายด้าน   7) คณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ควรเป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งบุคลากรภายในหน่วยงานมีงบประมาณที่แน่นอนร่วมกับคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีของกระทรวง ผู้ประกอบการ สถาบันการศึกษา เช่น ทุนการศึกษา ทุนการวิจัย ฝึกอบรม สัมมนา (2) จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ทำให้สามารถพัฒนากลยุทธ์การพัฒนากำลังคนและสมรรถนะบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ระบบทีวีดิจิตอลของประเทศไทยใน 5 ปีข้างหน้า ได้ 11 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การกำหนดสร้างความร่วมมือรณรงค์ค่านิยม วัฒนธรรมในการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะของบุคลากร 2) กลยุทธ์การส่งเสริมการสร้างค่านิยม วัฒนธรรมการพัฒนากำลังคนและสมรรถนะบุคลากร ติดตามการดำเนินงานอย่างชัดเจนและอย่างต่อเนื่อง 3) กลยุทธ์กำหนดคุณลักษณะของผู้นำที่ต้องการของหน่วยงานในการพัฒนากำลังคน สมรรถนะบุคลากร 4) กลยุทธ์การสร้างหลักสูตรภาวะผู้นำที่เหมาะสม สอดคล้องกับค่านิยม วัฒนธรรมของหน่วยงานด้านพัฒนากำลังคน 5) กลยุทธ์การพัฒนาขีดความสามารถเฉพาะด้านที่เอื้อต่อการพัฒนากำลังคน สมรรถนะบุคลากร 6) กลยุทธ์สร้างหลักสูตรการพัฒนากำลังคน สมรรถนะของบุคลากรให้เอื้อต่อด้านการพัฒนากำลังคน 7) กลยุทธ์พัฒนาระบบการเรียนรู้ด้านการพัฒนากำลังคน สมรรถนะของบุคลากร 8) กลยุทธ์การพัฒนาหน่วยงานต่างๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนากำลังคน สมรรถนะของบุคลากร 9) กลยุทธ์วิเคราะห์กำหนดความจำเป็นของงานหรือกระบวนการทำงานที่จำเป็นต้องปรับ ประยุกต์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนากำลังคน สมรรถนะของบุคลากร10) กลยุทธ์วางแผนและดำเนินงานให้อย่างเป็นรูปธรรมนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน 11) กลยุทธ์การจัดทำระบบการรับข้อเสนอแนะในการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการพัฒนากำลัง สมรรถนะของบุคลากร และ (3) จากการวิจัยในครั้งพบว่ากลยุทธ์ที่นำเสนอมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ

 

                   This research airmed to 1) to study fundamental information of workforce development and competencies of manpower in area of Thai’s digital television industrial   2) Analysis strategies in Term of workforce development and competenies of Thai’s digital television industrial 3) Build strategy and policy for workforce and competency of Thai’s digital television industrial. The research process including 3 steps 1) to study current needs of workforce development  and competencies in area of Thai’s digital television industrial from document study from varity source such as text book, website, company profiled and in-depth interview with 9 stakholder2) Draft strategies policy workforce development and competencies in area of Thai’s digital television industrial by using EDFR technique with 24 key stakeholders 3) Arranged for seminar forum for confirm and support policy meeting with 17 key stakholders.

             The research finding of workforce development inside digital television broadcasting industry for Thailand are (1) Current situation of workforce development. 1) Lack of preparation improvement and readiness for business growth 2) lack of experience, especially in beginging stage and intent to spend more money by recruiting from outside organization more than development from internal organization 3) Rotation and put the right man in the right jobs 4) Key stakeholder on organization who will help to build high rating score reflect with income such as director, creative, editor, sound engineer and computer graphic 5) Organization needs workforce development program to increase capability skill set 6) University to open and develop program not enough   for digital television 7) Support form key stakeholder such as government, Ministry of ICT, annully budget, education instution granting scholarship funding and research.

            (2) In regard to an analysis of external and internal environment factor that 11 strategies for workforce development inside digital television broadcasting industry for Thailand in next 5 years 1) strategies of esthablishment in cooperative with promoting core values and culture’s workforce development 2) strategies of support and promoting core values, development plan, build capability, strengthen continuely support 3) strategies of leadership attribute 4) strategies of leadership skill set and leadership development program 5) strategies of capability to support skill set 6) strategies of capability to support workforce development 7) strategies of learning and improvement 8) strategies of development each department to support workforce development 9) strategies of process improvement adjustable information and technology 10) strategies of yearly end planning for evaluate, and self assessment 11) strategies of comment and feedback for improvement and (3) Comment form seminar forum support and can be transfer to practice.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ