การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำงานกลุ่ม เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรปและแอฟริกา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก

Main Article Content

ภรณ์ศุมา ฤทธิไกรวรกุล

Abstract

           การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปยุโรปและแอฟริกา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก 2) ศึกษาความสามารถในการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก 3) ศึกษาความสามารถในการสร้างผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก 4) ศึกษาความคิดเห็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีแบบแผนการวิจัยแบบจำลองการทดลอง (Pre Experimental Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนคงทองวิทยา จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปยุโรปและแอฟริกา 3) แบบสังเกตความสามารถในการทำงานกลุ่ม 4) แบบสะท้อนความคิดในการทำงานกลุ่ม 5) แบบประเมินความสามารถในการสร้างผังกราฟิก และ 6) ผังกราฟิกแสดงความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)ร้อยละ ความถี่ การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)

            ผลการวิจัยพบว่า

             1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องภูมิศาสตร์ทวีปยุโรปและแอฟริกา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

             2. ความสามารถในการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก พบว่าคะแนนความสามารถในการทำงานกลุ่มเพิ่มสูงขึ้น

             3. ความสามารถในการสร้างผังกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือร้อยละ 70

             4. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิก ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่าการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิกช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ พบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังกราฟิกเป็นการจัดกิจกรรมที่ทำให้นักเรียนรู้สึกสนุกสนาน ตื่นเต้น เพลิดเพลิน และเร้าใจ และด้านประโยชน์ที่ได้รับ พบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้ ผังกราฟิกช่วยให้นักเรียนได้ฝึกทำงานร่วมกับผู้อื่น 

 

          The purposes of this research were to: 1) compare the development of learning achievement on the geography of Europe and Africa of the Mathayomsuksa 2 students before and after their participation in the learning management using inquiry based learning and graphic organizer technique, 2) study group work abilities of Mathayomsuksa 2 students from their participation during the learning management using inquiry based learning and graphic organizer technique, 3) study graphic organizer abilities of Mathayomsuksa 2 students from their participation during the learning management using inquiry based learning and graphic organizer technique and 4) study the opinion of  Mathayomsuksa 2  students regarding their participation in the learning management using inquiry based learning and graphic organizer technique.

           This is experimental research applying pre-experimental design. The sample of this research consisted of 41 Mathayomsuksa 2/1 students studying in the second semester during the academic year 2016 in Kongthong Wittaya School, Dontoom Distric, Nakhonpathom Province of the Office of Secondary School District 9.The instruments used for this research included 1) the lesson plans 2) a learning achievement test 3) an observation from group work abilities 4) a reflective thinking form of group work 5) assessment to evaluate the students’ graphic organizing ability and 6) a graphic organizer on the opinion of the students regarding their participation in the learning management using inquiry based learning and graphic organizer technique. The collected data was analyzed by mean (M), standard deviation (SD), percentage, frequency, content analysis and t-test for dependent.

 

             The findings were as follows:

             1. The learning achievement of the students on the geography of Europe and Africa gained after the participation in the learning management using inquiry based learning and graphic organizer technique was higher than the learning achievement gained before the participation learning at the level of .05 significance.

             2. The group work abilities of students improved after their participation during the learning management using inquiry based learning and graphic organizer technique was increase.

             3. The graphic organizer of students improved after their participation during the learning management using inquiry based learning and graphic organizer technique was higher than 70 %

             4. The positive student’s opinions about their participation in the learning management using inquiry based learning and graphic organizer technique. Learning activities: inquiry based learning and graphic organizer technique support students to knowledge. Learning environment: students feel enjoyable, excited, pleasant and stimulating. Learning usefulness: students work with participation.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ