การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องวิธีการคำนวณความยาวนานวันเพื่อการเกษตร

Main Article Content

พิสิษฐ์ สุวรรณแพทย์

Abstract

            งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องวิธีการคำนวณความยาวนานวันเพื่อการเกษตร 2) เพื่อทดลองและศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่องวิธีการคำนวณความยาวนานวันเพื่อการเกษตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม เรื่องวิธีการคำนวณความยาวนานวันเพื่อการเกษตร แบบประเมินความเหมาะสม แบบประเมินความสอดคล้อง แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังฝึกอบรม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องวิธีการคำนวณความยาวนานวันเพื่อการเกษตร มีหลักสูตรมีความสอดคล้องกันและมีความเหมาะสมในระดับมาก 2) ความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องวิธีการคำนวณความยาวนานวันเพื่อการเกษตร อยู่ในระดับมาก

 

             This research aims to: 1) to develop of training course on Method for Calculating day length for Agriculture and 2) to experiment to study the results from training course on Method for Calculating day length for Agriculture. The sample was simple random sampling consisted of 30 students of Crop Production Technology Students of Faculty of Animal Science and Agricultural Technology, Silpakorn University. Instruments for this research consist of the consistency and appropriateness of training course from, satisfaction from, pre-test and post-test participants training. The data was analyzed by, Percentage, Mean, Standard Deviation and t-test Dependent. The results were as follows: 1) development of a short training course on Method for Calculating day length for Agriculture data consistency and the suitability of the course high level. 2) The student’s knowledge after training is higher than before training by significantly at .05 level. 3) The student’s satisfaction after training is high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ