แนวทางการดำเนินการของบริษัทนำเที่ยวเพื่อประกอบกิจการฮัจย์ที่ประสบผลสำเร็จในประเทศไทย

Main Article Content

มาโนช พรหมปัญโญ
นำชัย ทนุผล
ละเอียด ศิลาน้อย

Abstract

             การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจการฮัจย์ในประเทศไทย 2) แสวงหาแนวทางการแก้ไขการจัดการกิจการฮัจย์ในประเทศไทย ด้วยวิธีวิทยาการแบบปรากฏการณ์วิทยาในการวิเคราะห์เนื้อหา โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามจาก การสนทนากลุ่ม กับหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบกิจการฮัจย์ และผู้แสวงบุญ จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ เครื่องอัดเสียง การจดบันทึก และแนวคำถามแบบปลายเปิด โดยผู้วิจัยทำหน้าที่ในการดำเนินการสนทนาและเปิดโอกาสให้ผู้ให้ข้อมูลตอบคำถามที่ผู้วิจัยเตรียมไว้ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการวิจัยครั้งนี้

              ผลการศึกษาพบว่า การบริหารจัดการกิจการฮัจย์ในประเทศไทย มีหน่วยงานภาครัฐบูรณาการร่วมกับภาคเอกชน และสนองนโยบายจากรัฐบาลซาอุดิอาระเบียด้วยดีตลอดมา นับแต่ปี พ.ศ. 2524 แต่ด้วยปัญหาและอุปสรรค 1) การจัดสรรจำนวนผู้แสวงบุญไปประกอบพิธีฮัจย์ 2) การจัดเที่ยวบิน 3) การจัดเช่าที่พัก 4) การจัดอาหาร 5) การยื่นวีซ่า 6) การประชาสัมพันธ์ 7) การอำนวยความสะดวกในประเทศไทย 8) การอำนวยความสะดวกในประเทศซาอุดีอาระเบีย  9) บทบาทและความรับผิดชอบของแซะห์ ผู้ประกอบการ และผู้แสวงบุญ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อการบริหารจัดการกิจการฮัจย์ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา 

 

               This research aims to study 1) problems and obstacles to Hajj pilgrimage tourism management in Thailand, 2) seeking solutions to manage Hajj pilgrimage tourism management in Thailand. Phenomenology method was used in content analysis. The researcher performed focus group to 21 Government officers, Hajj Entrepreneurs and Hajj pilgrims. The instruments for collecting data were voice recorder, note taking and open-ended question. The researcher paid role as a moderator and opened the opportunities for interviewees to provide the answers from the prepared questions by using descriptive analysis method for this research base.   

               The results show that Hajj pilgrimage management in Thailand, since 1981, Thai government units have ever been integrated with cooperates, respectively followed up Saudi Arabia government’s Hajj policies. Nevertheless, some risks made problems and threat out breaking to Hajj pilgrimage management in 1) pilgrim total net, 2) flight management, 3) accommodation management, 4) food management, 5) Visa, 6) Public relation, 7) Facilitation service in Thailand, 8) Facilitation service in Saudi Arabia, 9) Role and Responsibility of guides, entrepreneurs, and pilgrims, brought forward changing Hajj Management ahead in Thailand, since 2016.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ