การสังเคราะห์งานวิจัยที่ใช้ทฤษฎีการปรึกษาในขอบข่ายงานแนะแนว และการปรึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

Main Article Content

ลัดดาวรรณ ณ ระนอง

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ใช้ทฤษฎีการปรึกษาในขอบข่ายงานแนะแนวและการปรึกษา และ 2) สังเคราะห์งานวิจัยที่ใช้ทฤษฎี การปรึกษาในขอบข่ายงานแนะแนวและการปรึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา 

              กลุ่มตัวอย่างคืองานวิจัยเชิงปริมาณที่เป็นวิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ที่ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการปรึกษาในขอบข่ายงานแนะแนวและการปรึกษา ปี 2540 – 2553 จำนวน 43 เล่ม จากมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 6 แห่งคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยบูรพา เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินคุณภาพของงานวิจัยและแบบสรุปคุณลักษณะของงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา 

               ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์/ปริญญานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการปรึกษาในขอบข่ายงานแนะแนวและการปรึกษา มีงานวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่มากที่สุดคือ ปี 2550 มีการใช้ทฤษฏีการปรึกษาแบบเผชิญความจริงมากที่สุด มีการใช้โปรแกรมการปรึกษาต่าง ๆ ในงานแนะแนวและการปรึกษาด้านส่วนตัว ด้านสังคม ด้านสุขภาพ และด้านการศึกษา ระดับชั้นที่ศึกษามากที่สุดคือ มัธยมศึกษาตอนต้น แบบแผนของการวิจัยที่ใช้มากที่สุดคือ แบบแผนวัดก่อนและหลังการทดลอง มีกลุ่มควบคุมโดยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมากที่สุดคือ โปรแกรมการปรึกษา สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และสถิตินันพาราเมตริกซ์ และ 2) การสังเคราะห์เชิงคุณภาพของงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์/ปริญญานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการปรึกษาในขอบข่ายงานแนะแนวและการปรึกษาพบว่าโปรแกรมการปรึกษา ทุกทฤษฎีมีความสามารถในการป้องกัน แก้ไข  และพัฒนาคุณลักษณะต่าง ๆ ในงานแนะแนวและการปรึกษาด้านส่วนตัว งานแนะแนวและการปรึกษาด้านสังคม งานแนะแนวและการปรึกษาด้านสุขภาพและงานแนะแนวและการปรึกษาด้านการศึกษา

 

              The research objectives were to: (1) study characteristics of research studies on Counseling Theory in the Guidance & Counseling Aspects; and (2) qualitatively synthesize research studies on Counseling Theory in the Guidance & Counseling Aspects

              The research sample consisted of the  43 theses in the form of quantitative research that were  submitted during the academic year 1997 – 2011  in the six state universities in Thailand,namely,Chulalongkorn University, Ramkhamhaeng University, Sukhothai Thammathirat Open University, Khonkhaen University, Mahasarakham University, and Burapha University. The research instruments comprised a research quality assessment form, and a research conclusion form. Data were analyzed with the use of the frequency, percentage, and content analysis.

               Research findings were as follows: (1) regarding the characteristics of research studies on Counseling Theory in the Guidance & Counseling Aspects, the highest number of research studies was published during the  academic year 2008. Reality Counseling Theory was the highest counseling one conducted. Counseling programs on the Guidance & Counseling in the personnel ,  social ,health and   educational aspects were used. The class level in which the highest number of research studies was conducted  was Secondary School. The most employed research design was  Randomized  control  group  pretest – posttest  design. The most often employed data collecting instrument was  Counseling program. Statistics employed for data analysis were mean, standard deviation, t-test, and nonparametric-statistics; and (2) regarding the qualitative synthesis of research studies on Counseling Theory in the Guidance & Counseling Aspects was found that every counseling therapy could be use of prevention, solving and development the characteristics in the Guidance & Counseling various aspects including the personnel , social , health and educational aspects.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ