ศักยภาพทุนมนุษย์ และความสามารถเชิงพลวัตของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

วนิดา สุวรรณนิพนธ์

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของศักยภาพทุนมนุษย์ ความสามารถเชิงพลวัต และความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ และความสามารถเชิงพลวัต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การวิจัยครั้งนี้ใช้ทั้งแนวทางวิจัยเชิงปริมาณและแนวทางเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทย จำนวน 300 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการธุรกิจในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย จำนวน 8 ราย รวมทั้งการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ จำนวน 7 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของศักยภาพทุนมนุษย์ และความสามารถเชิงพลวัตของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (c2=19.13, df=15, Relative c2=1.28, p-value=0.208, RMSEA=0.03, SRMR=0.013, CN=466.576, GFI=0.987, AGFI=0.954) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าศักยภาพทุนมนุษย์ส่งอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถเชิงพลวัต และส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อความสามารถการแข่งขัน รวมทั้งความสามารถเชิงพลวัตส่งอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถการแข่งขัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 โดยตัวแปรทั้งหมดร่วมกันทำนายผลความสามารถในการแข่งขันของสถานประกอบการ ได้ร้อยละ 68.4นอกจากนี้ การจัดทำแนวทางเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจซอฟต์แวร์มีข้อเสนอแนะให้สถานประกอบการมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ในด้านทุนทางปัญญา ความสามารถเชิงพลวัตในด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและห่วงโซ่คุณค่า และความสามารถในการแข่งขันในด้านการสร้างความแตกต่างและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ในผลิตภัณฑ์และกระบวนการ รวมทั้งควรได้การสนับสนุนเพื่อยกระดับความสามารถเหนือคู่แข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 

           The objectives of this research were to study the causal relationship of human capital potential, dynamic capability and competitiveness capability of Enterprises in Thai software industries for enhancing competitiveness capability and to develop the suggestions to strengthen human capital potential, dynamic capability and competitiveness capability of Enterprises in Thai software industries for enhancing competitiveness capability in the ASEAN economic community. This research was conducted with the quantitative and qualitative research. For the quantitative research, 300 enterprises in the software industry was employed by stratified random sampling. A questionnaire was used to collect data and a structural equation model analysis was applied for the data analysis. However, for the qualitative research, in-depth interviewing of 8 entrepreneurs and focus group discussion of 7 experts were adopted and content analysis was used for the data analysis.

            The research results found that the causal relationship model of human capital potential, dynamic capability and competitiveness capability of enterprises in Thai software industries for enhancing competitiveness capability was consistent with empirical data at the acceptable level (χ2=54.366, p-value=0.0789, RMSEA=0.036, SRMR=0.0281, CN=291.221, GFI=0.972 and AGFI=0.917). The results of hypothesis testing shown that human capital potential had positive direct affected on dynamic capability and had indirect affected on competitiveness capability. Moreover, dynamic capability had positive direct affected on competitiveness capability and all variables predicted the competitiveness capability of software enterprises at 68.4 percent with the significant level of 0.01. In addition, the development of the competitive advantage of software enterprises has suggested that software businesses should focus on the development of human capital potential in the field of intellectual capital and dynamic capabilities of networking, collaboration, and the value chain. Moreover, software businesses should develop the ability to compete in differentiating and new innovations in products and processes, and also be supported to enhance their competency in the AEC.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ