การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้ วิถีเมืองเพชรตามแนวทางปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

สุวุฒิ วรวิทย์พินิต
วรรณวีร์ บุญคุ้ม
นรินทร์ สังข์รักษา

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้วิถีเมืองเพชร ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) พัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้วิถีเมืองเพชร ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้วิถีเมืองเพชร ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้วิถีเมืองเพชร ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่ในการศึกษา จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่พระสงฆ์  ครู  ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 379 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ศูนย์การเรียนรู้เมืองเพชร ส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านที่อยู่ท่ามกลางหุบเขา และติดทะเล ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตรและปศุสัตว์ และมีการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสนใจที่จะรู้แสวงหาความรู้ใหม่เสมอ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแบบวิถีเมืองเพชรของจังหวัดเพชรบุรี ยังมีบทบาทในการให้ความรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่และนอกพื้นที่ 2) รูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้วิถีเมืองเพชร ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พัฒนาขึ้น คือ “PETCH Model” มี 5 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ Participation (การมีส่วนร่วม) Evolution enough (ความพอเพียง) Technology (การนำเอาเทคโนโลยีและหลักวิทยาศาสตร์มาปฏิบัติ) Community (ชุมชน) และ Harmony (ความกลมกลืน) 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้วิถีเมืองเพชร ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่ารูปแบบการพัฒนาจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับ ภูมิปัญญาเป็นความรู้ดั้งเดิมอันประกอบไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้าน ไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กับการทำมาหาเลี้ยงชีพ และ 4) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้วิถีเมืองเพชร ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าภาพรวมอยู่ระดับมาก  

 

               This research and development aimed to 1) study the basic information and need for establish Study Center of Sufficiency Economy According to His Majesty's Initiative at Phechaburi city 2) develop a management of Study Center of Sufficiency Economy According to His Majesty's Initiative at Phechaburi city 3) apply Study Center of Sufficiency Economy According to His Majesty's Initiative at Phechaburi city, and 4) evaluate and improve Study Center of Sufficiency Economy According to His Majesty's Initiative at Phechaburi city. The participants were composed of priests, teachers, community leaders, scholars. The data were analysed by frequency, percentage, mean and average, standard deviation, and content analysis

               The results showed that 1) Most Study Centers of Sufficiency Economy According to His Majesty's Initiative at Phechaburi city were set up among the valley and closed to the sea. People were farmer and livestock. They live with the Sufficiency Economy According to His Majesty’s Initiative concept and always seeking for the new knowledge. Study Center of Sufficiency Economy According to His Majesty's Initiative at Phechaburi city also provides the knowledge and develop the quality of life of people in this area and outside 2) “PETCH Model” is the management model for the Study Center of Sufficiency Economy According to His Majesty’s Initiative. PETCH model is composed of five components (Participation, Evolution enough, Technology, Community and Harmony) 3) PETCH model must work together with moral, which is traditional knowledge of people in this area. It also correlated to the traditional life style of people, which blended to their work and living 4) the results of evaluated and improved Study Center of Sufficiency Economy According to His Majesty's Initiative at Phechaburi city were presented in the high level. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ