แนวทางการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยประยุกต์ใช้หลักเสียง 6 เสียงของอัลเฟรด ฮิตช์ค็อกเพื่อส่งเสริมความสามารถในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน (The approach to teach creative writing by applying the Alfred Hitchcock’s six sounds of suspense for enhancing the 21st century Abilities of students)

Main Article Content

ชลธิชา หอมฟุ้ง (Cholticha Homfung)

บทคัดย่อ

                 บทความวิชาการนี้มีจุดประสงค์เพื่อแสนอแนะแนวทางการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์ทั้งในรูปแบบของร้อยแก้วและร้อยกรองโดยประยุกต์ใช้หลักเสียง 6 เสียงของอัลเฟรด วิธีการประยุกต์เสียงทั้ง 6 เสียงมาใช้สอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์นั้น ใช้หลักการการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเป็นหลักการในการสอน โดยให้นักเรียนร่วมมือกันเป็นกลุ่มเขียนเรื่องราวที่สร้างเสียง หรือเหตุการณ์แทนเสียง และนำมาผูกเป็นเรื่องราวได้ ตามขั้นตอนดังนี้ 1) เสียงหรือเหตุการณ์ไม่ปกติเสียงที่หนึ่งที่ตัวละครไม่ได้ยิน 2) เสียงหรือเหตุการณ์ไม่ปกติเสียงที่สองที่ตัวละครยังคงไม่ได้ยิน 3) เสียงหรือเหตุการณ์ไม่ปกติเสียงที่สามที่ตัวละครได้ยินแต่ไม่ได้ใส่ใจ  4)เสียงหรือเหตุการณ์ไม่ปกติเสียงที่สี่ที่ทำให้ตัวละครตกใจ  5)ค้นหาที่มาเสียงและคิดเป็นเสียงอื่นที่ไม่อันตราย  6) เสียงที่แสดงตอนจบของเรื่อง แนวทางนี้จะช่วยพัฒนางานเขียนสร้างสรรค์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองได้ อีกทั้งยังได้ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นความสามารถที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย

Article Details

บท
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

ชลธิชา หอมฟุ้ง.(2560). “การพัฒนาแนวการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน”.วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 ,(กันยายน-ธันวาคม), 332-346.
ประวิทย์ แต่งอักษร.(2543).ตำนานระทึกขวัญ อัลเฟรดฮิตช์ค็อค. กรุงเทพมหานคร :แพรว.
วัชรา เล่าเรียนดี ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
สิทธิชัย ลายเสมา.(2561). “Development of Collaborative Blended Learning Activity on MobileLearning to Enhance Undergraduate Students’ Collaboration Skills”. Veridian E-Journal, Silpakorn University International (Humanities, Social Sciences and Arts). Volume 11 Number 4January-June, 682-699.
Hernández, Rosario.(2012). “Collaborative Learning: Increasing Students’ Engagement Outside the Classroom”. US-China Education Review . A9: 804-812.
Johnson,Glenn.(2018). “Six Sounds of Suspense”. Lecture at University of Tasmania. 30 November 2018.
Seyed Mosa Tabatabaee.(2013). “The impacts of individual and collaborative learning of worked out examples on problem-solving transference and cognitive load”. Pelagia Research Library. 4(6):219-224.
Universal Studios.(2016). Hitchcock Gallery. สืบค้นได้จาก
https://the.hitchcock.zone/wiki/Hitchcock_Gallery:_image_2106.Hitchcock Gallery: image 2106. เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2562.