Seatbelt sign in trauma patient: definition, epidemiology, pathophysiology and management

Authors

  • Amonpon Kanlerd

Keywords:

Seatbelt sign, Seatbelt syndrome

Abstract

ปัจจุบันการเสียชีวิตบนท้องถนนจากอุบัติเหตุทางจราจรทั่วโลกยังคงสูงและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า45 ปี สำหรับประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางจราจรถือว่าสูงมากอยู่ที่ 22.89 ต่อแสนประชากร สาเหตุหลักที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตทั่วโลกจากอุบัติเหตุทางจราจรยังสูงอยู่นั้น เชื่อว่ามาจากปัจจัยหลักห้าประการคือ การขับรถด้วยความเร็วสูง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การไม่ใส่หมวกกันนอค การไม่ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็กเล็กที่โดยสารในรถยนต์ และการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ทั่วโลกมีความพยายามในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายมาใช้ควบคุมการคาดเข็มขัดนิรภัยสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางการจราจร พบว่าการคาดเข็มขัดนิรภัยสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ร้อยละ 25 ถึงแม้อัตราการเสียชีวิตจะลดลงแต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือการพบรูปแบบความรุนแรงของการบาดเจ็บที่สัมพันธ์กับการคาดเข็มขัดนิรภัยมากขึ้น บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของเข็มขัดนิรภัย การบาดเจ็บที่สัมพันธ์กับการคาดเข็มขัดนิรภัย ทั้งกลไกการบาดเจ็บ อาการและอาการแสดง รวมทั้งหลักฐานเชิงประจักษ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้ศัลยแพทย์ใช้ในการตัดสินใจในการส่งตรวจเพิ่มเติม และให้การดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม

Downloads

Published

2020-08-08

How to Cite

Kanlerd, A. (2020). Seatbelt sign in trauma patient: definition, epidemiology, pathophysiology and management. Journal of the Association of General Surgeons of Thailand under the Royal of Patronage of HM the King, 3(2). Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/agstjournal/article/view/243712