ประสิทธิผลการเตรียมความสะอาดลำไส้ใหญ่ จากการเตรียมลำไส้ก่อนการส่องกล้องในผู้ป่วยที่เตรียมลำไส้ด้วยยาโพลีเอทิลีนไกลคอล กับ โซเดียมฟอสเฟต ในโรงพยาบาลกลาง สังกัดกรุงเทพมหานค

เปรียบเทียบการเตรียมลำไส้ใหญ่โดยสาร 2 ชนิด

Authors

  • Pakphoom Tantasukitvanich

Keywords:

Colonoscopy, Polyethylene glycol (PEG), Sodium phosphate (NaP), Aronchick score

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการเตรียมลำไส้โดยการทานโพลีเอทิลีนไกลคอล(Niflex) กับ โซเดียมฟอสเฟต (Swiff)

วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนโยทำการรักษาผู้ป่วยที่นัดมา(Elective case) และ เคสเตรียมลำไส้ขณะนอนโรงพยาบาล เพื่อทำการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง ที่กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ทำการเปรียบเทียบการใช้ยาระบายสองกลุ่ม คือกลุ่มโพลีเอทิลีนไกลคอล และกลุ่มโซเดียมฟอสเฟต โดยการคัดเลือกผู้ป่วยแบบเจาะจงสุ่ม 4:1 โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสุ่มจำนวน จากการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ได้คือ กลุ่มโพลีเอทิลีนไกลคอล 424 คน และ กลุ่มโซเดียมฟอสเฟต 106 คน รวมทั้งสิ้น 530 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ไคร์สแคร์ และ fisher exact test

ผลการวิจัย : ได้ทำการศึกษาในผู้ป่วย 530 ราย (ชาย 268 คนหญิง 262 คน) ได้รับการเตรียมลำไส้โดยเป็นกลุ่ม PEG 424 ราย; NaP 106 ราย, อัตราส่วน 4: 1 (PEG: NaP) อายุเฉลี่ย 62.6 ปี ในกลุ่ม PEG และ 60.5 ปี ในกลุ่ม NaP (p = 0.152). ค่าดัชนีมวลกาย 25.45 ในกลุ่ม PEG และ 25.44 ในกลุ่ม NaP (p = 0.156) เวลาเฉลี่ยของลำไส้ใหญ่คือ 37.4 ± 13.2 นาทีและเวลาเฉลี่ยใน กลุ่ม PEG 36.9 ± 12.2 นาที และกลุ่ม NaP 39.3 ± 16.7 นาที (p = 0.988) ทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องอายุเพศ WARD หรือ OPD ค่าดัชนีมวลกาย และข้อบ่งชี้การส่องกล้อง ปัจจัยที่อาจทำให้การเตรียมลำไส้ก่อนการส่องกล้องได้ไม่ดีได้ ได้แก่ การเตรียมลำไส้ในผู้สูงอายุ การใช้เวลาที่มากในการเตรียมลำไส้ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหลายโรคโดยเฉพาะ CKD รายงานผลการเตรียมลำไส้ใหญ่พบว่าเตรียมได้ดีร้อยละ 73.96 การเปรียบเทียบการเตรียมด้วยโซเดียมฟอสเฟตพบว่าได้ผลดีร้อยละ 66 เมื่อเทียบกับ PEG ที่เตรียมได้ร้อยละ 75.9 (p = 0.047) ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม NaP และกลุ่ม PEG เกี่ยวกับอุบัติการณ์ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และภาวะแทรกซ้อน

สรุป: การเตรียมลำไส้ทั้งสองวิธีคือ NaP และ PEG ไม่มีความแตกต่างกันในประสิทธิภาพของการล้างลำไส้ใหญ่ก่อนการส่องกล้อง ปัจจัยที่อาจทำให้การเตรียมลำไส้ก่อนการส่องกล้องได้ไม่ดีได้ ได้แก่ การเตรียมลำไส้ในผู้สูงอายุ การใช้เวลาที่มากในการเตรียมลำไส้ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหลายโรคโดยเฉพาะ CKD จะเตรียมลำไส้ไม่สะอาดเพียงพอในการส่องกล้อง

Downloads

Published

2020-08-08

How to Cite

Tantasukitvanich, P. (2020). ประสิทธิผลการเตรียมความสะอาดลำไส้ใหญ่ จากการเตรียมลำไส้ก่อนการส่องกล้องในผู้ป่วยที่เตรียมลำไส้ด้วยยาโพลีเอทิลีนไกลคอล กับ โซเดียมฟอสเฟต ในโรงพยาบาลกลาง สังกัดกรุงเทพมหานค: เปรียบเทียบการเตรียมลำไส้ใหญ่โดยสาร 2 ชนิด. Journal of the Association of General Surgeons of Thailand under the Royal of Patronage of HM the King, 5(1), 13–19. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/agstjournal/article/view/243732