ศัลยศาสตร์ปริทัศน์
ใครควรจ่ายค่าผลิตแพทย์เฉพาะทาง
Keywords:
specialist, medical educationAbstract
ท่านสมาชิกที่สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์ในประเทศไทย คงทราบดีว่ารัฐบาลเป็นผู้จัดสรรงบประมาณการผลิตแพทยศาสตร์บัณฑิตมานับร้อยปีแล้ว แต่ท่านเคยฉุกคิดหรือไม่ว่าแล้วการที่แพทยสภาจัดให้มีการผลิตแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ (Postgraduate Medical Education) ในรูปแบบของ Residency Training Program ตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 จนประเทศไทยมีแพทย์เฉพาะทางที่รับใช้ประชาชนทุกสาขาวิชาชีพที่จำเป็นนั้น ใครคือผู้สนับสนุนงบประมาณการผลิตให้
คำตอบคือไม่มีงบประมาณแผ่นดินสนับสนุนโดยตรงเลย ทั้ง ๆ ที่ระบบสุขภาพไทยมีความต้องการแพทย์เฉพาะทางไม่น้อยกว่าหรือจะมากกว่าแพทยศาสตร์บัณฑิตธรรมดาเสียด้วยซ้ำไป ผมจึงมีแนวคิดว่ารัฐบาลต้องพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้ แต่ก็จะมีรายละเอียดมากมายที่จะต้องเตรียมการไว้ใช้ในการขอเงินสนับสนุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นต้นทุนการผลิตแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขา
ในวารสารฉบับนี้ ผมจึงขอเริ่มนำข้อมูลสำคัญมาให้ท่านสมาชิกรับทราบเป็นระยะ ๆ และหากเป็นไปได้ ถ้ามีข้อคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์กรุณาบอกผมด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง
ท่านอาจารย์หมอเสถียร ธรรมทวีธิกุล ศัลยแพทย์อาวุโสผู้ร่วมบุกเบิกการผ่าตัดผ่านกล้องส่องในประเทศไทยได้กรุณาสรุปสาระสำคัญของระบบการจัดสรรงบประมาณช่วยผลิตแพทย์เฉพาะทางในสหรัฐอเมริกาจากบทความเรื่อง “Funding for Graduate Medical (GME) in USA” ซึ่งผมได้ขออนุญาตท่านนำมาเผยแพร่ ณ ที่นี้ เป็นการนำไปสู่ ขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ ต่อไป