ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะพร่องไธรอยด์ฮอร์โมนของทารกแรกเกิด ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พิมพิมาส สิงหาคม โรงพยาบาลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะพร่องไธรอยด์ฮอร์โมน, ความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ แบบ case-control study โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะพร่องไธรอยด์ฮอร์โมนของทารกแรกเกิดในจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็ นทารกแรกเกิดท่ีมี และไม่มีภาวะพร่องไธรอยด์ฮอร์โมน จำนวน กลุ่มละ 192 คน (n=384) สุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างเป็ นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบ บันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยพหุคูณแบบลอจิสติก ผลการศึกษาในมารดาของกลุ่มทารกแรกเกิดท่ีมีภาวะพร่องไธรอย์ฮอร์โมน พบว่า ส่วนใหญ่ เป็นมารดาที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ร้อยละ 73.4 ค่าดัชนีมวลกายก่อนตัง้ครรภ์ปกติ ร้อยละ 58.9 ฝากครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 43.2 อายุครรภ์ที่คลอดเฉลี่ย 38.6 สัปดาห์ (SD.=1.4) ค่าความเข้มข้นของ เลือดเฉลี่ย 34.2%vol (SD.=3.8) การรับรู้ของมารดาต่อภาวะขาดสารไอโอดีนอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 71.9 การใช้เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว/ซอสเสริมไอโอดีน ร้อยละ 30.4, 67.5, 19.1 ตามลำดับ และ ส่วนใหญ่รับประทานปลาทะเล 2-3 เดือน ร้อยละ 43.8 สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะพร่อง ไธรอยด์ฮอร์โมนของทารกแรกเกิด ได้แก่ มารดาที่ฝากครรภ์ครั้งแรก เมื่อายุครรภ์ 13-38 สัปดาห์ (p = 0.016) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการขาดไอโอดีน (p < 0.001) การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติตน (p < 0.001) การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตน (p < 0.001) การไม่ใช้เกลือเสริมไอโอดีน (p < 0.001) การรับประทานอาหารทะเลน้อย (p =0.044) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ควรส่งเสริมมารดา ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เพิ่มการรับรู้และส่งเสริมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนและบริโภคอาหารทะเล จะช่วยลดภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนของทารกแรกเกิดในจังหวัดขอนแก่นได้

References

Benoist BD, Andersson M, Egli I, Takkouche B, Allen H. Iodine status worldwide: WHO Global Database on Iodine Deficiency. Geneva; 2004.

Buppasiri P. Conquering the Iodine Deficiency. Srinagarind Med J 2013; 28 (suppl); 92-96.

Zimmermann MB. The effects of iodine deficiency in pregnancy andinfancy. Paediatric and perinatal epidemiology 2012; 26(Suppl 1): 108-17.

Smallridge RC, Ladenson PW. Hypothyroidism in Pregnancy: Consequences to Neonatal Health. The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism 2001; 86(6): 2349-53.

Bureau of Nutrition (BoN) DoH, Ministry of Public Health. Report of the National Iodine Deficiency Disease Control Board Meeting No. 1/2559. Bangkok: Samcharoen Panich; 2017.

Khon kaen Provincial Health Office. The result of Risk of neonatal hypothyroidism in Khon Kaen province in 2017. Khon kaen: Khon kaen Provincial Health Office; 2017.

Lemeshow S, Hosmer DW, Klar J, Lwanga SK, Organization WH. Adequacy of sample size in health studies. [n.p.]; 1990.

Campbell MJ, Machin D, Walters SJ. Medical statistics: a textbook for the health sciences. John Wiley & Sons; 2010.

Best J. Research in Education. New Jersey: Prentice Hall; 1977.

Bureau of Nutrition DoH, Ministry of Public Health. Dietary Reference Intake For Thais 2003. Bangkok: Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health; 2003.

Yangyuen S, Songklang S, Somdee T. Food Consumption And Urinary Iodine Excretion Of Pregnant Woman In Mahasarakham Province. Community Health Development Quarterly Khon Kaen University 2017; 5(4): 683-702.

Motana N, Chusak T, Nunthachai B, Chaiwong S. Effectiveness of health education based on health belief model for preventing iodine deficiency in Ma Kaw Tom, Muang District, Chiangrai Province. Naresuan Phayao Journal 2014; 7(2): 178-84.

Martsuri P. Iodine deficiency prevention in pregnant women, Namsom District, Udonthani Province. Journal of the office of DPC7 Khon Kaen 2011; 19(2): 27-40.

Patchasuwan N, Banchonhattakit P. The effects of health promotion program for prevention of Iodine deficiency disorders among pregnancies in Nhongkungsri district, Kalasin province. Research and Development Health System Journal 2015; 8(1): 72-82.

Sanmuang T. Effectiveness of health education based on health belief model for preventing iodine deficiency in Mae Kaw Tom, Muang District, Chiangrai Province. Phayao: University of Phayao; 2012.

Chaisurat J. IODINE. Journal Science & Technology, Ubon Rachathani University 2550; 3(2): 55-63.

Singsena S, Muktabhant B. Factors Affecting Urinary Iodine of Pregnant Women Attending the Antenatal Care Clinics at Srinagarind hospital and Khon Kaen Hospital. Mahasarakham Hospital Journal 2015; 12(3): 161-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28