ปัจจัยที่มีผลต่ออาการกำเริบซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กนกรัตน์ ชัยนุ โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
  • กิตติยา ทองสุข โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
  • มิ่งขวัญ ภูหงษ์ทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

จิตเภทเรื้อรัง, กำเริบซ้ำ, อาการทางจิต

บทคัดย่อ

การศึกษานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทมีอาการกำเริบซ้ำ ภายใน 1 ปี ของผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง ช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 - ธันวาคม พ.ศ. 2560 อำเภอ บ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์โดยการศึกษาย้อนหลัง แบบ Retrospective Cohort Study ประชากร คือ ผู้ป่ วยโรคจิตเภทเรื้อรังที่มีอาการกำเริบในปี พ.ศ. 2559-2560 ที่มารับ บริการโรงพยาบาลบ้านไผ่ จำนวน 79 ราย ใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานใช้สถิติ Chi-square และ Odds ratio (OR), Multiple logistic regression, Adjusted Odds ratio และ 95% Confedence Interval เก็บข้อมูล โดยแบบสัมภาษณ์ และสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า รายได้ (OR=0.25; 95% CI=0.08–0.73) การรับรู้ เกี่ยวกับโรค (OR=0.35; 95% CI=0.12–0.96) ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว (OR=0.14; 95% CI=0.02–0.69) การประกอบอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ (OR=0.26; 95% CI=0.10-0.67) การมี ส่วนร่วมกิจกรรมในชุมชน (OR=0.26; 95% CI=0.09–0.75) และการใช้ยาต้านอาการทางจิต ไม่ต่อเนื่อง (OR=0.07; 95% CI=0.02–0.25) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้ป่ วยมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำ ภายใน 1 ปี เมื่อทำการวิเคราะห์ Multivariate analysis พบว่าการไม่รับประทานยาต้านอาการทาง จิตอย่างต่อเนื่องมีโอกาสเสี่ยง ต่อการเกิดอาการกำเริบซ้ำภายใน 1 ปี มากกว่าผู้ป่วยที่รับประทาน ยาอย่างต่อเนื่อง 12.5 เท่า (95%CI=12.41-64.80; P–value=0.003) และผู้ป่ วยจิตเภทที่รับการ รักษา รพ.จิตเวช มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการกำเริบซ้ำ ภายใน 1 ปี น้อยกว่า ผู้ป่วยจิตเภทที่รับการ รักษาที่ PCU/รพ.สต. 0.08 เท่า (95%CI=0.01-0.60; P–value=0.013) ดังนั้น การจัดระบบการดูแล ผู้ป่วยให้รับการรักษาและได้ยาต้านอาการทางจิตอย่างต่อเนื่องร่วมกับการเชื่อมโยง ส่งต่อดูแล ต่อเนื่องระหว่างสถานบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ สามารถป้องกันการเกิดอาการทางจิต กำเริบซ้ำ ในผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรังได้

References

Walker E, McGee RE, Druss BG. Mortality in mental disorders and global disease burden implications: A systematic review and metaanalysis. JAMA Psychiatry 2015; 72(4): 334-41.

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

Csernansky JG, Mahmoud R, Brenner R. A comparison of risperidone and haloperidol for the prevention of relapse in patients with schizophrenia. N Engl J Med 2002; 346(1): 16-22.

สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. รายงานผู้ป่วยจิตเวช. ขอนแก่น: สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 2560.

อรสา วัฒนศิริ, เสาวภา ศรีภูสิตโต. การพัฒนากระบวนการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเภทโดยทีมสหสาขาและเครือข่ายผู้ดูแลโรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารกองการพยาบาล 2556; 40: 67-83.

American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders (DSM-5®). American Psychiatric Pub; 2013.

Suriyong J, Khamwongpin M, Viboonma K, Tamdee D, Keawma P. Prevalence of alcohol use disorders of schizophrenic patients. Journal of Mental Health of Thailand 2014; 22(1): 38-47.

เสาวนีย์ คงนิรันดร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช]. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

Choorat N. The Study of Causes and Ways to Prevent a Recurrence of Schizophrenic Patients in The Community of Pi-leng District Health Care Promoting Hospitals which Experiencing Unrest Situation in the Southern Provinces of Thailand. Princess of Naradhiwas University Journal 2016; 3(1): 24-36.

Sooksompong SN, Udomittipong D, Losatiankij P. Factors Associated with Relapse in First Episode Psychosis. Journal of the Psychiatrist Association of Thailand 2016; 61(4): 331-40.

Tan SCH, Yeoh AL, Choo IBK, Huang APH, Ong SH, Ismail H, et al. Burden and coping strategies experienced by caregivers of persons with schizophrenia in the community. Journal of Clinical Nursing 2012; 21(17-18): 2410-8.

Theodore J. Wilf. Practice Guidelines and Combining Atypical Antipsychotics. American Journal of Psychiatry 2004; 161(9):1717-8.

Alvarez-Jimenez M, Priede A, Hetrick SE, Bendall S, Killackey E, Parker AG, et al. Risk factors for relapse following treatment for first episode psychosis: A systematic review and meta-analysis of longitudinal studies. Schizophrenia Research 2012; 139(1): 116-28.

Sthapornnanon N. Medication non adherence. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences 2012; 7: 1-17.

Csernansky JG, Schuchart EK. Relapse and rehospitalisation rates in patients with schizophrenia: effects of second generation antipsychotics. [n.p.]; 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28