ผลของการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า โดยใช้วิถีพุทธธรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปรีดา เจริญโภคทรัพย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, วิถีพุทธธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมวิถีพุทธรรมต่อการลดภาวะซึมเศร้า ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังและรับการรักษาในศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพระยาบาลสมเด็จพระ ยุพราชกระนวน ซึ่งเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (ก่อนและหลัง) แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 ทำการคัด กรองหาผู้มีภาวะซึมเศร้าด้วยแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) ซึ่งคัดได้ทั้งหมด 30 คน (คะแนนก่อน) และพัฒนาโปรแกรมวิถีพุทธธรรมพร้อมทดสอบประสทิ ธิภาพ ระยะที่ 2 นำกลุ่มผู้ป่ วย ที่คัดได้เข้าค่ายเรียนรู้โปรแกรมวิถีพุทธรรม ประกอบด้วย 1) การสวดมนต์เช้า-เย็น 2) การเจริญสติ แบบนั่งที่เรียกว่า “การสร้างจังหวะ” (14 จังหวะ) เป็นการควบคุมสติผ่านการเคลื่อนไหวของมือ และ การเจริญสติแบบเดิน “การเดินจงกรม” เป็นการควบคุมสติผ่านการก้าวเดิน 3) การทำสมาธิด้วยการ นั่งเป็นการควบคุมสติผ่านลมหายใจเข้า-ออก หลังจากนั้น ให้ไปปฏิบัติที่บ้านและลงบันทึก ระยะที่ 3 ระยะติดตามการปฏิบัติทุกเดือน และจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วทำการประเมิน ภาวะซึมเศร้าด้วยคำถาม 9Q เมื่อครบ 3 เดือน (คะแนนหลัง) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบ พรรณนาและข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ทดสอบผลสัมฤทธิ์ของโปรแกรมวิถีพุทธธรรม ต่อการลดภาวะซึมเศร้าด้วย Paired Samples t-test ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่ วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.3 อายุ 70 – 79 ปี ร้อยละ 60, โรคเบาหวาน ร้อยละ 56.6 ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 26.7, ส่วนมากเจ็บป่วยมากกว่า 10 ปี ด้านระดับภาวะซึมเศร้า พบว่า ก่อนเข้าร่วมปฏิบัติวิถี พุทธธรรม ผู้ป่ วยมีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับต่ำ, ปานกลาง, และสูง ที่ร้อยละ 10, 76.7 และ 13.3 ตามลำดับ หลังปฏิบัติตามโปรแกรมวิถีพุทธธรรม พบว่า ผู้ป่ วยมีระดับภาวะซึมเศร้าลดลงอย่างมาก โดยเป็นปกติ ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.01) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมวิถีพุทธธรรมที่ พัฒนาสามารถลดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็ นโรคเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง สามารถเพิ่มการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ และความคิดสติปัญญาในทางที่ดีขึน

References

ละเอียด แจ่มจันทร์, สุรี ขันธรักษวงศ์. การพยาบาล-กฎหมายและระเบียบข้อบังคับจรรยาบรรณพยาบาล. พิมพ์ค้รังที่ 3. กรุงเทพฯ: จุดทอง; 2549.

Lueboonthawatchai A. Nursing Mental Health and Psychiatry. 2nd ed. Bangkok: Chulalongkorn University; 2006.

Rueangtrakool S. Psychiatric Symptoms in Patients with Disease. Bangkok: Rueankaew Printing; 2001. 4. Maneethorn B. Consultation-liaison psychiatry. Chiangmai: Chiangmai Printing Saengsil; 2008.

สมภพ เรืองตระกูล. การตั้งครรภ์: โรคทางจิตเวชและการรักษา. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2550.

Outchareon S, Teppitak C, Srisang S, Payogo PSD, Varindho PV. Effectiveness of Depression Reduction Program for the Chronic Disease Patients through Buddhists Integrated. Journal of MCU Peace Studies 2017; 5(1): 89-100.

Rungrueangkolkij S, Chootungkorn, P, Wongtaki W. Report of Development and Consultation Method According to Buddhism in Treating Patients with Psychiatric Illness. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2006.

Suphromjak, W. Luang Por Tien Miracles in Ordinariness. Bangkok: Thana Printing; 2011.

Dissayawanich C. Buddhism and Psychiatry. Journal of Psychiatry Association of Thailand 1998; 43(3): 266-291.

Anantakul P. The results of meditation together with solving problems of the 4 truths (Ariyasas 4) on young mother’s depression with cancer [Master’s degree thesis of Nursing Science]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2000.

Phrapalad S. Payogo PSD. The Quality of Life of Patients with Chronic Diseases and their Health Promotion through Dhamma Practice at Makarak Hospital in Kanchanaburi. Bulletin of Suanprung 2015; 31(1): 27-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28