การประเมินผลโครงการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ครบ 70 ปี ในพุทธศักราช 2559 พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ตลอดจนในปี พุทธศักราช 2560 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษาฯ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ปี 2560 กรณีศึกษาตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สมหมาย ชาน้อย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองเพีย

คำสำคัญ:

การประเมินผล, โครงการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการประเมินผลโครงการกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 70 ปี ในพุทธศักราช 2559 พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ตลอดจนในปี พุทธศักราช 2560 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษาฯ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ปี 2560 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน และแกนนำครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเก็บ ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสัมภาษณ์จากประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 265 คน จากการสุ่ม อย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลการวิจัย พบว่า ด้านบริบทอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.58, SD = 1.23) ด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.11, SD =1.31) ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.17, SD = 1.71) ด้านผลผลติ อยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.02, SD =0.90) ด้าน ผลกระทบอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.89, SD = 1.86) ด้านประสิทธิผลอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.08, SD = 1.62) ด้านความยั่งยืนอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.25, SD =0.83) ด้านการถ่ายทอดส่งต่ออยู่ใน ระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.32, SD =1.24) ข้อเสนอแนะ ควรมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และ ควรมีการประเมินโครงการอย่างต่อเนื่อง และเป็นปัจจุบัน รวมทั้งมีการกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน อย่างแน่ชัดเพื่อทราบกระบวนการขั้นตอนการดำเนินโครงการอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีปี 2559-2568. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

สารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข. สธ. เผยWHO ระบุพยาธิใบไม้ตับเป็นเชื้อก่อมะเร็งท่อน้ำดี พบมากที่สุดในโลกที่ภาคอีสาน. [ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 12 มีนาคม 2560]. จากhttp://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.phpid-Hot_new=78964.

สำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ทศวรรษการลดพยาธิใบไม้ตับกำจัดมะเร็งท่อน้ำดี “รู้ป้ องกัน รักษาเร็ว ไม่ตายด้วยมะเร็งท่อน้ำาดี”. นนทบุรี: สำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2559.

ณรงค์ ขันตีแก้ว, พวงรัตน์ ยงวณิชย์. แนวคิดด้านนโยบายและยุทธศาตร์ในการบริหารจัดการโรคมะเร็งท่อน้ำดีอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559: 27 (ฉบับพิเศษ(มะเร็งท่อน้ำดี)): 422-426.

บรรจบ ศรีภา, พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว, ธนาพร นฤนาทวัฒนา. โรงเรียนปลอดพยาธิใบไม้ตับแบบยั่งยืนต้นแบบแก่งละว้า จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการสนับสนุนการวิจัย; 2556.

Stufflebeam DL. Shinkfield AJ. Evaluation theory, models & applications. CA: Jossey-Bass; 2007.

Khuntikeo N, Loilome W, Thinkhamrop B, Chamadol N, Yongvanit P. A Comprehensive Public Health Conceptual Framework and Strategy to Effectively Combat Cholangiocarcinoma in Thailand. PLOS Neglected Tropical Diseases. 2016; 10(1): e0004293.

Khuntikeo N, Chamadol N, Yongvanit P, Loilome W, Namwat N. โปรแกรมตรวจคัดกรองและการดูแลมะเร็งท่อน้ำดี. (CASCAP) BMC Cancer 2015; 15: 459.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28