การพัฒนารูปแบบส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานแรกวินิจฉัย โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคเบาหวานแรกวินิจฉัย, การส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาบทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย และโรงพยาบาลภูเวียงมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องการสำรวจเบื้องต้นจากการให้คำปรึกษาด้านยาพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 60 รับประทานยาไม่ถูกต้องส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันแก่ผู้ป่วยผู้วิจัยจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานแรกวินิจฉัย โรงพยาบาล ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานแรกวินิจฉัยนำมาพัฒนารูปแบบส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยา และศึกษาผลของการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตรวจความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค 0.94 แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานแรกวินิจฉัยที่ได้จากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 164 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษา (1) ปัญหาที่ส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานแรกวินิจฉัย พบว่าปัญหาด้านภาวะอารมณ์และความเครียด ด้านการสนับสนุนด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเรื่องการออกกำลังกายอยู่ระดับปานกลาง (2) ได้รูปแบบส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาคือ S (Screening) H (Heath Promotion Activity) O (Organization) P (Physician diagnosis)– D (Dispensary) M (Monitoring) ที่ได้การพัฒนากิจกรรมในคลินิกเบาหวาน (3) ผลของการนำรูปแบบส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาไปใช้ พบว่าผู้ป่วยได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ผลลัพธ์ค่าทางห้องปฏิบัติการ FBS HbA1 C LDL Cretinine อยู่ในเกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้น เสนอแนะ : ควรศึกษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี
References
สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคเบาหวาน.(ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 16มิถุนายน 2561 จาก http://www.ncd.ddc.moph.go.th. 2561.
ภาวนา กีรติยุตวงศ์. การส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานในระดับโรงพยาบาลประจำจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล; 2537.
อารมย์ พรหมดี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมุกดาหาร. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2552
Grant, R.W.,Devita,N.G., Singer.D.E., & Meigs,J.B. Polypharmacy and medication adherence in patients with type 2 diabetes. Diabetes Care, 2003: 26(5).
Best, J. W. Research in Education. 3rd. India,New Delhi: Prentice Hall, Inc. 1978.
ทวีวรรณ กิ่งโคกกรวด. ความสัมพันธระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชนกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.
เทพ หิมะทองคำ และคณะ. การทบทวนองค์ความรู้เบาหวานและน้ำตาลในเลือดสูง. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2548.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว