การพัฒนาแนวทางอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) ในการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ระบบการดูแลระยะยาว, อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุบทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิงโดยอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในระบบการดูแลระยะยาว ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์แพทย์ประชาสโมสร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบ่งเป็น 3ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิงระยะที่ 3 ประเมินผล ใช้แบบเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และแนวทางเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ระหว่างเดือน มกราคม 2562– พฤศจิกายน 2562 ผลการศึกษาอธิบาย 3 ส่วนประกอบด้วย ลักษณะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการการดูแลระยะยาว ได้แก่ กลุ่มที่ต้องการการดูแลฉุกเฉิน กลุ่มป่วยเรื้อรัง ติดเตียง และกลุ่มที่ต้องการให้การดูแลที่ยุ่งยาก ซับซ้อน งานบริการหลักสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้แก่ การดูแลสุขภาพที่บ้าน การดูแลต่อเนื่อง และการดูแล ช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และบทบาท หน้าที่หน่วยงาน กลุ่ม องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลระยะยาว ได้แก่ หน่วยบริการสุขภาพทั้งระดับปฐมภูมิ ถึงตติยภูมิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพผู้สูงอายุ นำใช้ประโยชน์จากงานวิจัย โดยนำรูปแบบ วิธีการ รวมทั้งผลการวิจัยในพื้นที่ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน รวมถึงการต่อยอดงานวิจัยในประเด็นอื่นได้อีกด้วย
References
World Health Organization. Health in 2015: from MDGs, Millennium Development Goals toSDGs, Sustainable Development Goals. Geneva Switzerland: World Health Organization. 2015.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ตัวชี้วัดภาวะสุขภาพไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ. 2016.
World Health Organization. Global Health and Aging. Geneva Switzerland: World Health Organization. 2011.
พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข. The Kingdom of Thailand Health System Review: การทบทวนระบบสุขภาพของประเทศไทย. Geneva, Switzerland : WHO. 2558.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care)ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี งบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). 2559.
ขนิษฐา กู้ศรีสกุล, ณัฐพัชร์ มรรคา, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ. การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2559: 25(4); 89-99.
เกื้อ วงศ์บุญสิน. การคาดการณ์เพื่อสังคมสูงวัยในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ; 2558.
เบญจพร สุธรรมชัย, จิราพร เกศพชิญวัฒนา, นภัส แก้ววิเชียร. การสังเคราะห์รูปแบบบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558; 4(26); 15-26.
ศิริพันธุ์ สาสัตย์, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์, เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในสถานดูแลระยะยาวในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). 2552.
ขนิษฐา นันทบุตร. การดูแลสุขภาพชุมชน : แนวคิด เครื่องมือ การออกแบบ. นนทบุรี: อุษาการพิมพ์; 2551.
วรรณภา ศรีธัญญรัตน์, ผ่องพรรณ อรุณแสง, มยุรี ลี่ทองอิน, สิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์, ลดาวัลย์ พันธุ์พาณิชย์. การถอดบทเรียนและสังเคราะห์ ระบบบริการการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง: กรณีศึกษาผู้สูงอายุที่มีภาวะสะโตร็คและภาวะสมองเสื่อม. แผนงานสร้างและจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการพัฒนาสังคมสูงอายุอย่างมีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (มส.ผส.). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2558.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. บูรณาการระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ : เจพริ้น; 2552.
ศิริพันธุ์ สาสัตย์. ทิศทางและแนวโน้มการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว. Thai Journal of Nursing Council. 2553; 25(3); 5-10.
วิพรรณ ประจวบเหมาะ. รายงานการศึกษา โครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) ระยะที่ 2 (พ.ศ.2550-2554). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์; 2556
วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, ศิริพันธ์ สาสัตย์, พรทิพย์ มาลาธรรม, และจิณณ์สิธา ณรงค์ศักดิ์. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น. วารสารสภาการพยาบาล. 2557: 29(3); 104-115.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 -2564.2560
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข); 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว