การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ ภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • บุญถม ชัยญวน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพล

คำสำคัญ:

ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, ผู้สูงอายุ, กองทุนระบบการดูแลระยะยาว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนระยะยาว อำเภอพล จังหวัดขอนแก่นศึกษาในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองพลและองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพล กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง จำนวน 116 คน กลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม 2,907 คน เก็บข้อมูลโดยการสำรวจข้อมูล สัมภาษณ์ สนทนากลุ่มการสังเกต ระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ.2560 - กันยายน พ.ศ.2561 ผลการศึกษาพบว่า 1) ความชุกของการเกิดภาวะพึ่งพิงระยะยาวในผู้สูงอายุ ร้อยละ 8.39 มีภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 13.86 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ประกอบด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอดอักเสบและอายุ 75 ปีขึ้นไป 3) รูปแบบการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุประกอบด้วย (1) การเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ระดับทุตติยภูมิกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม โดยกิจกรรมหมอลำสรภัญญะในโรงเรียนผู้สูงอายุ มีความรู้การป้องกันภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) (2) นวัตกรรม GIS ชุมชนและเทคโนโลยีการแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ ณ จุดเกิดเหตุ (3) การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ในโรงพยาบาลด้วยการคัดกรองระบบ ESI+Elderlyมีระดับความรุนแรงของผู้สูงอายุก่อนและหลังการวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001) และ 4) รูปแบบการพัฒนาระบบบริการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ มีการเชื่อมระบบบริการและการมีส่วนร่วมของชุมชนและคะแนนเฉลี่ยการมีส่วนร่วมของชุมชนหลังการวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001)

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงาการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี 2550. [เอกสารอัดสำเนา]. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2557.

สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุลและคณะ. การสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ.นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

Lowthian JA, Curtis AJ, Cameron PA, et al. Systematic review of trends in emergency department attendances. Australian perspective. Emerg Med J; 2010.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รายงานประจำปี 2556. [เอกสารอัดสำเนา]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2556.

ณิชชาภัทร ขันสาคร และคณะ. การศึกษาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล; 2559.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ และคณะ. รายงานการทบทวนประสบการณ์ต่างประเทศในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและบทเรียนสำหรับประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย. เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2556.

ศิราณี ศรีหาภาค และคณะ. ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2557.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2558.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี 2550. [เอกสารอัดสำเนา]. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2557.

Sihapark S, Kuhirunyaratn P, Hongtu C. Severe Disability Among Elderly Community Dwellers in Rural Thailand: Prevalence and Associated Factors. Ageing International. 2014; 39(3): 210-220.

สำนักบริหารการทะเบียน. ระบบสถิติทางการทะเบียน ปี 2559. [เอกสารอัดสำเนา]. กรุงทพฯ: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย; 2559.

Challis, D., et al. Dependency in older people recently admitted to care homes. Age and Ageing. 2000; 29(3): 255-260.

สุทธิชัย จินตะพันธ์กุล. มุมมองใหม่ของการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้ปรากฏการณ์ประชากรผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอาย. 2545; 3(2): 49-62.

Yesavage, J. A., et al. Development and validation of a geriatric depression screening scale: a preliminary report. J Psychiatr Res. 1982; 17(1): 37-49.

Folstein, M. F., Folstein, S. E., McHugh, P. R. Mini-mental state. A practical method for grading the cognitive state of patients for the clinician. Journal of Psychiatric Research. 1975; 12(3): 189–198.

Rifkin, S.B., et al.Primary Health Care On measuring participation. Soc. Sci. Med.1988;26(9):931-940.

วิชัย เอกพลากร และคณะ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

Salvi, et al. The elderly in the emergency department: a critical review of problems and solutions. Internal and Emergency Medicine. 2007; (2): 292–301.

Caplan,et al.Risk of admission within 4 weeks of discharge of elderly patients from the emergency department-the DEED study. Age and Ageing. 1998; 27:697-702.

Hickman, et al,.Best practice interventions to improve the management of older people in acute care settings: a literature review. Journal of Advanced Nursing. 2007; 60(2): 113–126.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560 – 2564. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2559.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ และคณะ. รายงานการทบทวนประสบการณ์ต่างประเทศในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและบทเรียนสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30