ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและชะลอไตเสื่อม ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ

ผู้แต่ง

  • อ้อมฤทัย มั่นในบุญธรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ

คำสำคัญ:

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ระดับน้ำตาลในเลือด, การชะลอไตเสื่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) วัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pre-post design) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวด้านการรับประทานอาหารการออกกำลังกายการพักผ่อนและคลายความเครียด การจัดการตนเองระดับน้ำตาลในเลือด และค่าการทำงานของไต 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวด้านการรับประทานอาหารการออกกำลังกายการพักผ่อนและคลายความเครียด การจัดการตนเองระดับน้ำตาลในเลือด และค่าการทำงานของไต ก่อนและหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกรกฎาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบสอบถามแบบบันทึกติดตามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปคำนวณหาค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired sample t – test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวด้านการบริโภคอาหารการออกกำลังกายการพักผ่อนและคลายความเครียด การจัดการตนเองพบว่าหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนน สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด และค่าการทำงานของไตพบว่าหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ลดลงกว่าก่อนการทดลอง ส่วนค่าเฉลี่ยการทำงานของไต (eGFR) สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะควรมีการพัฒนาสื่อต่างๆ ที่เข้าถึงประชาชนให้มากยิ่งขึ้นและระบบการติดตามประเมินผลควรเป็นระบบเครือข่ายที่มีการประสานงานที่ดีกับสถานบริการสาธารณสุข

References

World Health Organization. 10 facts aboutdiabetes. (ออนไลน์). สืบค้นได้จากhttp://www.who.int/features/factfiles/diabetes/en/;2016. (สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2559)

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคเบาหวาน (E10-E14) ต่อประชากร 100,000 คน (รวมทุกการวินิจฉัยโรค) ปี พ.ศ.2550 – 2557 จำแนกรายจังหวัดเขตบริการสาธารณสุขและภาพรวมประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร). 2559.

นงลักษณ์ แก้วทอง, ลักขณา เติมศิริกุลชัย, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, ธราดล เก่งการพานิช และขวัญเมืองแก้วดำเกิง. ความแตกฉานด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหอย จังหวัดสระแก้ว.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. กรุงเทพฯ. 2557

อมรรัตน์ ภิรมย์ชม และอนงค์ หาญสกุล.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ.2555 วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, (19)1: 1-10.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. โรคไตจากเบาหวาน. (ออนไลน์). สืบค้นได้จากhttp://www.dmthai.org/news _and _knowledge/1790; 2559. (สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2560)

วรางคณา พิชัยวงศ์. โรคไตจากเบาหวาน. วารสารกรมการแพทย์. 2558; กันยายน-ตุลาคม: 19-24.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ. รายงานประจำปี 2560. 2560.

อรุณีย์ ศรีนวล. การประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2548.

ศิรยุสม์วรามิตร. โรคไตเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. เอกสารประกอบการบรรยาย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http//www. sknhospital. go.th/Webskn,news/โรคเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน. (ppt.). 2559 : สืบค้นเมื่อ (2 มิถุนายน 2560).

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 3.ขอนแก่น:คลังนานาวิทยา; 2551.

กองสุขศึกษากระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาคุณภาพงานสุขศึกษาและพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในโรงพยาบาล. โรงพิมพ์กองสุขศึกษา, นนทบุรี; 2560: 56-60.

รัชมน ภรณ์เจริญ, น้ำอ้อยภักดีวงศ์, อำภาพรนามวงศ์พรหม. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2.รามาธิบดีพยาบาลสาร 2553; 16(2): 279-292.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. [ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] (การพยาบาลผู้ใหญ่) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2556.

จินตนา หามาลี,นัยนาพิพัฒน์ วณิชชา, รวีวรรณ เผ่ากัณหา. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการชะลอความก้าวหน้าของโรคไตเรื้อรังในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2557; 34(2): 67-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30