การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โดยใช้กระบวนการการเสริมสร้างพลังอำนาจและการดูแลต่อเนื่อง ในศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, กระบวนการการเสริมสร้างพลังอำนาจ, การดูแลต่อเนื่องบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้กระบวนการการเสริมสร้างพลังอำนาจและการดูแลต่อเนื่อง ในศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษาในศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น ติดต่อกัน 2 ปีขึ้นไป ที่มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c)≥7mg % จำนวน 40 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้และ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกลุ่มตัวอย่างเดียววัดก่อน-หลัง ติดตามดูแลต่อเนื่องที่บ้านเป็นรายบุคคล ใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจของ Gibson (1995) คือ 1) การค้นหาปัญหา 2) การสร้างความตระหนักปัญหา 3) การมีส่วนร่วมตัดสินใจเลือกแนวปฏิบัติ และ 4) การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ติดตามประเมินความต่อเนื่องของการปฏิบัติในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 – 31ตุลาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปใช้สถิติพรรณนาผลการศึกษาพบว่าหลังการศึกษากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมดีขึ้นทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)ค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001)กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจและการติดตามดูแลต่อเนื่องที่บ้านรายบุคคล ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความสามารถในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ตระหนักในปัญหาสุขภาพของตน มีส่วนร่วมเลือกวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะและสอดคล้องกับบริบทในด้านการบริโภคอาหาร ออกกำลังกายและการผ่อนคลายความเครียดทำให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย ควรนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคอื่นต่อไป
References
World Health Organization. World Health Statistics 2012: World Health Organization; [cited 2012 Jun 12, 2012] from: http://www.who.int/gho/publications/world_health_statistics/2012/en/. 2012.
สำนักโรคไม่ติดต่อข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: information-statistic/non-Communicable-disease data.php. 2016.
อัมพิกา มังคละพฤกษ์. ผลการบริโภคข้าวเหนียวต่อการควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชากรภาคเหนือของประเทศไทย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.
สมหวัง ซ้อนงาม และคณะ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่มีผล HbA1C มากกว่า 7 ของอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. 2556.
หรรษลักษณ์ แววบุตร. การประยุกต์ใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านนาบัวอำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2553.
ปรีดา กังแฮ และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการจัดการตนเองต่อความรู้ พฤติกรรมและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหล่อ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว