การคัดกรอง การเลี้ยงดูเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 โดยอาสาสมัครสาธารณสุข พื้นที่ 7 ตำบลเขตรับผิดชอบศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลขอนแก่น ประจำปี 2561
คำสำคัญ:
มาตรฐานขั้นต่ำการดูแลเด็ก, ศูนย์พึ่งได้, การคุ้มครองเด็กบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเลี้ยงดูเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำในการเลี้ยงดูเด็ก ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546ในชุมชนพื้นที่รับผิดชอบ เป็นการค้นหาเด็กที่ต้องการสนับสนุนส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมตามวัยตลอดจนเพื่อนำผลการศึกษาไปปรับปรุง งานบริการศูนย์พึ่งได้วิธีการศึกษาเป็นเชิงพรรณนาและเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบคัดกรองเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำ ศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2560 – มีนาคม 2561 กลุ่มตัวอย่าง 1,746 คนพื้นที่ 4 อำเภอ 7 ตำบล ในจังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 16.32 เป็นกลุ่มที่ถูกกระทำรุนแรง (ธงแดง) ร้อยละ 10.88 เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกระทำรุนแรง (ธงเหลือง) ส่วนใหญ่เป็นเด็กเพศชาย ร้อยละ 57.19 อายุ 11-15 ปี ร้อยละ 44.46 มีปัญหาที่พบมากที่สุด เด็กติดเกมส์จนรบกวนต่อชีวิตประจำร้อยละ 17.18 เด็กไม่ระวังอันตราย และพาตัวเองไปเสี่ยงอันตรายบ่อยครั้ง รองลงมา ร้อยละ 16.38 สมาชิกในครอบครัว ใช้สารเสพติด หรือ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ร้อยละ 14.78 2) ผลการศึกษานำไปปรับปรุงงานบริการและพัฒนาการทำงานแบบสหวิชาชีพ พบว่า มีการจัดประชุมเครือข่ายสัญจรอย่างต่อเนื่องประจำทุกเดือน มีจัดกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงประจำปีต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะการคัดกรองเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ของสังคมไทย ส่วนใหญ่ประชาชนยังขาดความรู้ เรื่อง การคุ้มครองเด็กและการเลี้ยงดูเด็กให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำควร จัดอบรมความรู้ เรื่อง พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ให้กับบุคลากรสหวิชาชีพและอาสาสมัครในชุมชน และควรจัดกิจกรรมเฝ้าระวังความเสี่ยง ตามบริบท ของพื้นที่
References
World Health Organization Child MaltreatmentViolence and Injury Prevention in Child Maltreatment (child abuse) Administration on Children, Youth and Families 330 C Street, SW, Washington, D.C. 2016; 15-24.
National Statistical Office and UNICEF Thailand surveying the situation of children and women In the Bangkok community, 2016. The complete report. Bangkok 2017; 19-244.
Public Health Administration Division Office of the Permanent Secretary Data Analysis Report of One Stop Crisis Center, 2007-2015, Nonthaburi: New Plain Printing Co., 2015 C15-70.
Prapaphan Chucharoen, PanratNimtung. Research reports the study of the situation of violence against children in the family in order to prevent violence Office of Health Promotion Fund, copy documents Unknown, printed. 2007; 15-103.
Foundation for the Protection of Children Rights. Multidisciplinary team work manual in child protection process. Bangkok: Foundation for the Protection of Children Rights. 2003; 11-276.
Public Health Administration Office of the Permanent Secretary Practice guidelines for helping children and women who have been abused in a provincial network, Khon Kaen. Phra Thamkhan Press. 2006; 71 -100.
ChanyaphonRattanakosol, Yaowaret Khammanat, OrapinNawaphongsakorn. Integrating work to help children and women. Violent In the group of Roi Kaen Sin La Sin One Stop Crisis Center, KhonKaen Hospital. Copy documents Unknown, printed. 2014; 7 -79.
Office of the Attorney General Office of the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Bajrakitiyapha Relevant laws and regulations for use in operations Office of Public Prosecutor Region 4. Copy document Unspecified. 2016; 9 -120.
Department of Children and Youth Affairs, & Ministry of Social Development and Human Security. Handbook and agreement on the protection and assistance of children at risk and the victims of abuse, neglect, neglect, exploitation and violence. Bangkok: Department of Children and Youth Affairs. 2017; 272: 21-56.
AphinyaWetchayachai, research report on social welfare assessment for children who have been abused, Health Systems Research Institute Bangkok. Copy document, unspecified. 2003, 254; 29-85.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว