ผลการใช้โปรแกรมเพื่อป้องกันการสำลักในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบาก โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
กลืนลำบาก, การสำลัก, โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันโรคหลอดเลือดสมองแตก, การพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมเพื่อป้องกันการสำลักในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสำลักกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบากที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลกุมภวาปีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 32คน ที่เข้าเกณฑ์ และยินดีเป็นอาสาสมัคร เก็บข้อมูลระหว่าง ธันวาคม 2562 ถึงมีนาคม 2563 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินระดับความรู้สึกตัว และแบบประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ร่วมกับการแจกแจงข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า โปรแกรมเพื่อป้องกันการสำลักในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบาก สามารถช่วยลดอุบัติการณ์เกิดการสำลักในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบากคิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนระดับคะแนนความรู้สึกตัว (GCS) ต่ำสุด 11 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 9.37 สูงสุด 15 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 78.13 ผลการประเมินค่าความรุนแรงของสมองขาดเลือด (NIHSS ) ของผู้ป่วยมีค่าคะแนนระหว่าง 1-4 (Mild) 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 43.80 ค่าคะแนน NIHSS ระหว่าง 5-16 (Moderate) 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.30 พยาบาลมีความคิดเห็นต่อการนำโปรแกรมฯ ไปใช้อยู่ในระดับดีมากที่สุด คือ (=4.7)
References
World Stroke Day. [online]. [cited 2011 Aug 19] ; Available from: URL: http://www.worldstrokecam - paign. org/media/Pages/AboutWorldStrokeDay2010.aspx).
สุภางค์จริภักดิ์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน : รายกรณีศึกษา, วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 2562; 3 (28): 807 – 817. สืบค้นจากhttps://www.srth.moph.go.th/region11journal/document/Y28N3/19.pdf.เข้าถึงเมื่อ 10 กันยายน 2562.
World Health Organization (WHO). Global burden of disease 2000. 2006; Retrieved July 10, 2009, from World Health Organization web site: http://www.who.int/healthinfo/statist ics/bod_cerebrovasculardiseasestroke.pdf.
นฤมล นามวงษ์, นฤมล สินสุพรรณ และกุหลาบ ปุริสาร. ผลของโปรแกรมฟื้นฟูการกลืนต่อความามารถในการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีภาวะกลืนลำบาก. วารสารวิทยาลยับัณฑติเอเชีย 2561; 8 (ฉบับพิเศษ): 251-261.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. อัตราการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง เขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2560.สืบค้นจากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e116a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=3092c3c3250ae67155f7e134680c4152 8 เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562.
Martino R., Foley IN, Martino, Foley, Bhogal S, Diamant N, Speechley M, Teasell R. Dysphagia after stroke: Incidence, diagnosis, and pulmonary complications. Stroke 2005; 36 (12): 2756 - 2763.
เรณู มูลแก้ว, ประทุม สร้อยวงศ์, จินดารัตน์ ชัยอาจ. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก สำหรับการจัดการอาการกลืนลำบากในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและผดุงครรภ์ไทย 2559; 3(2): 44-56.
ศูนย์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์. รายงานผู้ป่วยรับใหม่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงปี 2557-2561: โรงพยาบาลกุมภวาปี; 2561.
นลินี พสุคันธภัค, สายสมร บริสุทธิ์ และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาท กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
ปัทมา มิตรธรรมศิริ, พยุง เมฆพยัพ, อภินันท์ ชูวงษ์, ภัทรา อารักษ์พุทธนันท์, บุญมา โอฐธนู, วิมลศรี สมร. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันโดยใช้การ จัดการผู้ป่วยรายกรณีและทีมสหสาขาวิชาชีพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุริ ปีงบประมาณ 2551-2552; 1-8. สืบค้นจาก http://www. photharamhosp.go.th/ptrhos/attachments/article/30/pdfd11.pdf. เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563.
ศิริวรรณ กฤษณพันธ์. การพัฒนาระบบการวางแผนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้พยาบาลผู้จัดการผู้ป่วยรายกรณี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2551; 5(1): 765-779.
จิตลัดดา ประสานวงศ์, ปฐมวดี สิงห์ดง, รสสุคนธ์ สามเสน. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารกองการพยาบาล 2555; 39(2): 51-65.
อาคม รัฐวงษา และอรสา กงตาล. การพัฒนาแนวทางการจัดบริการอย่างต่อเนื่องในชุมชน สําหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ของโรงพยาบาลโกสุมพิสัยและเครือข่าย. GRC 2012 Graduated Research Conference, 2555: 670-680 สืบค้นจาก file:///C:/Users/Win10x64Bit/Desktop/MAD%20ME/MAD%20ME-2019/MOD-2019/ Articles/อาคม.pdffile:///C:/ Users/Win10x64Bit/Desktop/MAD%20ME/MAD%20ME-2019/MOD-2019/ Articles/อาคม.pdf. เข้าถึงเมื่อ 6 พฤษภาคม 2563.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research). วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช 2553; 29(1): 1-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว