ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตเมือง และเขตชนบท อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตเมืองและเขตชนบท อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณประมาณค่าสัดส่วนกรณีไม่ทราบจำนวนประชากรจำนวน 64 คน สุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.71,0.86,0.65 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วยสถิติ Chi-square Test และ Fisher’s Exact Test ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตเมืองและเขตชนบท ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.87 และ 75.00ตามลำดับ การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 84.38 และ 81.2 ตามลำดับรายได้ต่ำกว่า 2,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 78.12 เท่ากัน มีโรคร่วมคือ โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 65.63 และ 56.25ตามลำดับ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 53.12 และ56.25ตามลำดับ ระดับน้ำตาลในเลือด 126-154 mg/dlร้อยละ 56.25 และ 50.00ตามลำดับ เข้ารับการรักษาที่คลินิกเบาหวานทั้งหมดและไม่เคยได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านร้อยละ 50 และ 62.50 ตามลำดับ แต่กลุ่มผู้ป่วยเขตเมือง ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพร้อยละ 53.12 ระยะเวลาการเป็นโรคเฉลี่ย 14.57±10.40 ปีส่วนกลุ่มผู้ป่วยเขตชนบท ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 46.87 ระยะเวลาการเป็นโรคเฉลี่ย11.87±9.92 ปีทั้งนี้ผู้ป่วยทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทส่วนใหญ่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 50.00เท่ากัน โดยความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมไม่แตกต่างกันแต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนด้านสุขภาพมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.026) และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003) ส่วนด้านอื่นไม่มีความ แตกต่างกัน ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์หรือหน่วยงานด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับบุคคล เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
References
กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก 2561. [ออนไลน์]. 2561.เข้าถึงเมื่อ/2562 ตุลาคม 1]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/
สหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ. ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2561. [ออนไลน์]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ/2562 ตุลาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: http://www. thaincd.com/.
องค์การอนามัยโลก. ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2561. [ออนไลน์]. 2561. เข้าถึงเมื่อ/ 2562 ตุลาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: http://www. thaincd.com/.
เพชร รอดอารีย์.คนไทยเป็นเบาหวานพุ่งกว่าครึ่งไม่รู้ตัว กรมอนามัย แนะออกกำลังกาย-ปรับการกิน. [ออนไลน์]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ/ 2562 ตุลาคม 2]. เข้าถึงได้จาก: http://www.isranews.org/.
สถาบันระบบวิจัยสาธารณสุข. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5. [ออนไลน์]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ/ 2562 ตุลาคม 13]เข้าถึงได้จาก: http://www.thaitgri.org/.
คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. อัตราความชุกโรคเบาหวานต่อแสนประชากร. [ออนไลน์]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ/2562 ตุลาคม 1]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hdcservice.moph.go.th/hdc/.
สำนักงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี. [ออนไลน์]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ/ 2562 กันยายน 14]. เข้าถึงได้จาก: https://www.acr.hdc. moph.go.th.
สมเกียรติ โพธิสัตย์. การวิจัยภาวะแทรกซ้อนทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. [ออนไลน์]. 2554. [เข้าถึงเมื่อ/ 2562 ตุลาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: http://opac-healthsci.psu.ac.th/
กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สองโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;3: 256-68.
กันตพงษ์ ปราบสงบ. ศึกษาวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ของความแตกฉานด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน (เบาหวานชนิดที่ 2) ในอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี. [ออนไลน์]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ/2562 กันยายน 14]. เข้าถึงได้จาก:http://journalgrad.ssru.ac.th/.
ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ และนรีย์นี ละไพจิตร. การสำรวจความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. [ออนไลน์]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ/ 2562 ตุลาคม 10].เข้าถึงได้จาก: http://www.nkp-hospital. go.th/.
เบญจมาศ สุรมิตรไมตรี. ความฉลาดทางสุขภาพ และสถานการณ์การดำเนินงานสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาพของคนไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. [ออนไลน์]. 2556. [เข้าถึงเมื่อ/ 2562 กันยายน 14]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mfa.go.th/.
พงษ์ศิริ งามอัมพรนารา. ความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.
ศิรินันท์ สุขศรี. และ ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการดูแลตนเองที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิต ศึกษา). 2560; 4: 73-84.
วรรณรัตน์ รัตนวรางค์.และวิทยา จันทร์ทา. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูและตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2561; 24:34-51.
ธนาลักษณ์ สุขประสาน. ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันข้อมูลสุขภาพกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว