การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะรุนแรง

ผู้แต่ง

  • ศิรดา วิพัทนะพร โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การวางแผนจำหน่าย, ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะรุนแรง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะรุนแรง ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน 2560 ถึงเดือนกันยายน 2561 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะรุนแรงจำนวน 30 คน ผู้ดูแลจำนวน 30 คน และบุคลากรทีมสหสาขาวิชาชีพจำนวน 10 คน ขั้นตอนการพัฒนาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะรุนแรง 2) การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะรุนแรง 3) ทดลองใช้รูปแบบ 4) ประเมินผล ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะรุนแรงประกอบด้วย 6 องค์ประกอบได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพโดยกำหนดโครงสร้างทีมและบทบาทหน้าที่ 2) การวางแผนจำหน่าย 5 ขั้นตอน คือ การประเมินปัญหาและความต้องการ การวินิจฉัยปัญหา การกำหนดแผนการจำหน่ายโดยใช้ METHOD การปฏิบัติตามแผน และการประเมินผล 3) การมีส่วนร่วมของบุคคลในครอบครัว 4) รูปแบบการให้ความรู้และสอนทักษะ 5) การสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้เมื่ออยู่ที่บ้าน 6) การส่งต่อข้อมูลเพื่อการดูแลต่อเนื่อง หลังการนำรูปแบบไปทดลองใช้ไม่พบผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน ด้านผู้ดูแลพบว่าหลังการสอนผู้ดูแลมีค่าคะแนนความรู้เกี่ยวกับการบาดเจ็บศีรษะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) ในด้านความสามารถในการดูแลผู้ป่วยหลังจำหน่าย 30 วัน พบว่ามีค่าคะแนนความสามารถอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{X} =1.75, SD=0.30) ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} =4.88, SD= 0.24) ทีมสหสาขาวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} =4.77, SD=0.49)

References

World Health organization. รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2558. (สืบค้นวันที่ 20 สิงหาคม 2559). Available from:http:// www.WHO.Int.road-safety-status.

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน ปี 2558. (สืบค้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560) Available from: URL: http://www.thaincd.com/Document/file/info/injured/สถานการณ์อุบัติเหตุปี 2556.

สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวังการบาดเจ็บ ปี 2558. [สืบค้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560]. Available from: URL: http://www.boe. moph.go.th/Report.

Montogomery RJV, Olive R, Reisner A, fallat M. The effect of severe traumaticbrain injury on the family. Journal of Trauma-injury infection & Critical care 2002; 52(6): 1121-1124.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลนครพนม. สรุปสถิติผู้ป่วย พ.ศ.2558-2559. (เอกสารอัดสำเนา). นครพนม: โรงพยาบาล; (ม.ป.ป.).

ประภัสศรี ชาวงษ์. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะที่รับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2535.

ยุวรรณา หวังกีรติกานต์, อัปสร สารสุวรรณ, เพ็ญฉาย เลิศสุรวงศ์. ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะรุนแรง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศีรษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์; 2557; 29(1): 1-11.

จุไรพร วงศ์วัฒนฤกษ์, ไพลิน นัดสันเทีย, ปิยนุช บุญกอง. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลสกลนคร.วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2554; 20(4), 607-618.

กันทิมา ขาวเหลือง, ปรีย์กมล รัชนกุล, เรณู พุกบุญมี. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนดที่ส่งเสริมการดูแลต่อเนื่อง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ; 2556; 6(1): 27-38.

กัลยา เข็มเป้า. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินที่มีแผลที่เท้า โรงพยาบาลพลพยุหเสนา. วารสารกองการพยาบาล; 2552; 36(3): 113-132.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30