การพยาบาลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บร่วมกับมีภาวะเลือดออก เหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก

ผู้แต่ง

  • ธัญรัศม์ ปิยวัชร์เวลา งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ภาวะสมองบาดเจ็บ, ภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การดูแล การรักษาพยาบาล ในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บร่วมกับมีภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก ที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือน มกราคม-กันยายน พ.ศ. 2562 เก็บรวบรวมข้อมูลจากแฟ้ม เวชระเบียน แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย และแนวทางการสัมภาษณ์ญาติ ผู้ดูแลผู้ป่วย นำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์เนื้อหาโดยกำหนดประเด็นความครอบคลุมการดูแล ทั้งในระยะวิกฤติ และฉุกเฉิน ระยะพักฟื้น และฟื้นฟู และการดูแลระยะยาว ทั้งการดูแลรักษาทางการแพทย์ ปัญหาทางการพยาบาล และความต่อเนื่องในการดูแลต่อที่บ้าน และชุมชน ผลการศึกษาพบว่า การดูแลในระยะวิกฤตและฉุกเฉิน ต้องได้รับการประเมินที่รวดเร็ว แม่นยำ รวมถึงต้องได้รับการส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษาขั้นสูงเพื่อให้ได้รับยาและผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน การบริการตามมาตรฐาน และใช้เครื่องมือประเมินที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยจะทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิต หรือลดภาวะทุพพลภาพได้ การให้การพยาบาลโดยใช้หลักวิชาการที่เป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติ การประเมินสภาพผู้ป่วย และระบุปัญหาและความต้องการที่สอดคล้อง ทั้งในระยะวิกฤตและฉุกเฉิน ระยะฟื้นฟู และระยะยาว จะทำให้สามารถลดความรุนแรงของโรค ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะคุกคามต่อชีวิต ข้อเสนอแนะจากการศึกษาต่อระบบบริการสาธารณสุขอาจต้องพัฒนาแนวทางประเมินกลุ่มผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ไวต่ออาการทางสมองที่เปลี่ยนแปลง แนวปฏิบัติที่เฉพาะ รวดเร็วเป็นพิเศษ และการพัฒนา ฟื้นฟูทักษะความเชี่ยวชาญของบุคลากรทุกระดับในการดูแล ช่วยเหลือในทุกระยะการเจ็บป่วยต่อนโยบายการจัดการความปลอดภัยในการใช้รถ ใช้ถนนปัจจุบันซึ่งควรบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ร่วมกำหนดมาตรการทางสังคมร่วมกัน และสื่อสาธารณะในลักษณะเตือนภัย ปลูกฝังวินัย ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

References

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: 2562.

American College of Surgeons.ATLSR Advance Traumatic Life SupportR Student Couse Manual.10th ed. 633N. Saint Clair Street Chicago,IL60611-3211; 2018.

นครชัย เผื่อนปฐม, ธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล. แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย.นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขนนทบุรี; 2562.

วิจิตรากุสุมภ์. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤตแบบองค์รวม.พิมพ์ครั้งที่4.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์; 2553.

ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย.แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด; 2562.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์. ขอนแก่น: เพ็ญพริ้นติ้ง จำกัด; 2556.

ไชยพร ยุกเซ็น,ธาวินี ไตรณรงค์สกุล,ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา. Emergency care:the pocket guide book. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์; 2556.

อรทัย ชาติกิตติคุณวงศ์. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะในระยะวิกฤต. ใน :รัชนี เบญจธนัง,บรรณาธิการ.การพยาบาลศัลยศาสตร์วิกฤต.กรุงเทพฯ : พี เอ ลิฟวิ่ง; 2558.

กรกฏ อภิรัตน์วรากุล. การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(3): 289-294.

วิบูลย์เตชะโกศล. ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบทางด่วนพิเศษในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. ศรีนครินทร์เวชสาร.2557; 29(6): 524-529.

สรสิทธิ์ บุณยะวิโรจ. การศึกษาความแตกต่างในผลการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บศีรษะระดับความรุนแรงน้อยที่มีความเสี่ยงต่อสมองระดับปานกลางที่ห้องสังเกตอาการและหอผู้ป่วยใน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2559; 6(2): 771-781.

รุ่งนภา เขียวชะอำ, อรพรรณ โตสิงห์, ปรางทิพย์ ฉายพุทธ, เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการเตรียมความพร้อมสำหรับญาติผู้ดูผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. Journalof Nursing Science 2011; 29(1): 18 – 25.

รุ่งนภา เขียวชะอำ, ชดช้อย วัฒนะ. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองแบบองค์รวม. Journal of Phrapokklao Nursing College 2017; 28(1): 133-143.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30