การพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ผ่องศรี งามดี กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

อาการกำเริบซ้ำ, ร่วมมือในการรักษาด้วยยา, โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง

บทคัดย่อ

โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวงเป็นโรคจิตเภทที่พบมากที่สุด สถิติโรงพยาบาลขอนแก่นปี 2560-2562 มีจำนวน 175,451,425 คน การบำบัดรักษาด้วยยาเป็นสิ่งสำคัญเพื่อควบคุมอาการด้านบวก ป้องกันอาการกำเริบซ้ำ การใช้กระบวนการพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ผู้ป่วยร่วมมือในการรับประทานยา กรณีศึกษานี้เป็นการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดหวาดระแวงรักษาที่คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลขอนแก่น โดยมีอาการกำเริบซ้ำ จากการรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ใช้สุราและยาเสพติด ครอบครัวมีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง วัตถุประสงค์ดูแลเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากหวาดระแวง ร่วมมือในการรักษาด้วยยา เสริมสร้างสัมพันธภาพ ใช้ระยะเวลา  8 สัปดาห์ ระยะที่ 2 เพื่อเพิ่มศักยภาพการดูแลตนเอง ครอบครัวสามารถดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้องใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ วิธีดำเนินการเป็นการศึกษารายกรณี  จำนวน 2 ราย ดำเนินการ ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2563 ขั้นตอน ได้แก่ เลือกผู้ป่วยแบบเจาะจง ทบทวนเอกสารและวรรณกรรม ประเมินภาวะสุขภาพ ตรวจสภาพจิต ประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวช วิเคราะห์ข้อมูล ปฏิบัติตามกระบวนการพยาบาล อภิปรายผลสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีการรับประทานยาตามแผนการรักษา ไม่มีอาการกำเริบซ้ำ มีการสร้างสัมพันธภาพกับครอบครัวและสังคมได้ดีขึ้น ครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้หลักการป้องกันงานสุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน มาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้ควรนำไปพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดหวาดระแวงที่ใช้สารเสพติด และการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท

 

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท สำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ (ฉบับแพทย์). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถิติผู้ป่วยจิตเวช ประจำปีงบประมาณ 2556-2558. [online]. [เข้าถึงเมื่อ 25กรกฎาคม 2562]; แหล่ง ข้อมูลจาก http://www.dmh.go.th/ report/report1.asp.

Murray CJL& Lopez AD. The Global Burden of disease. Harvard University Press; 1996.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือผู้เข้าอบรมหลักสูตรการเข้าถึงบริการและดูแลผู้ป่วยโรคจิต สำหรับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง : บริษัท ดีน่าดู มีเดีย พลัส จำกัด; 2560.

พิมพ์วลัญช์ อายุวัฒน์, ภาสินี โทอินทร์ และปรานต์ศศิ เหล่ารัตน์ศรี. F 20: โรคจิตเภท (Schizophrenia). กรุงเทพฯ: สถาบันพระบรมราชชนก[online]. [เข้าถึงเมื่อ 23 กันยายน 2562] แหล่งข้อมูล: http://administer.pi.ac.th/uploads/ersearcher/upload_doc/2018/academic/1531378592828010009140.pdf.

สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว. การพยาบาลจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์; 2554.

กรมสุขภาพจิต และสำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. เชียงใหม่ : [มปท.]; 2556.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน สำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์; 2559.

ลัดดา แสนสีหา. สุขภาพจิตชุมชน. ฉวีวรรณ สัตยธรรม, บรรณาธิการ. การพยาบาลจิตเวชและตสุขภาพจิต. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์; 2552.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2558.

อมรา ศิริกุล. การใช้มาตรฐานการพยาบาลในชุมชนในผู้ป่วยจิตเวช:กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีความคิดหวาดระแวง. วารสารโรงพยาบาลพิจิตร 2556 ; 28 (1): 81-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31