การพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้ และภาวะสูดสำลักควัน : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • จิราวดี ชุมศรี หอผู้ป่วย Burn unit โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, แผลไหม้, สูดสำลักควัน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผู้ป่วย การดำเนินของโรคการรักษาข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลการพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาลในผู้ป่วยบาดเจ็บจากแผลไหม้และสูดสำลักควันจำนวน 2 รายที่เข้ารับการรักษาที่ Burn unit โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่าง เดือนตุลาคม 2561ถึงกันยายน 2562 และเพื่อให้ได้แนวทางในการให้การพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้ร่วมกับมีการสูดสำลักควัน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนการสังเกตการซักประวัติผู้ป่วยและญาติการใช้กระบวนการพยาบาลกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลใช้กรอบแนวคิดในการประเมินภาวะสุขภาพของ FANCAS ผลการศึกษาพบว่าการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บจากแผลไหม้ระดับรุนแรงและมีการสูดสำลักควันร่วมด้วยเป็นภาวะวิกฤต มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หลังได้รับบาดเจ็บในทุกระบบ ทั้งการเปลี่ยนแปลงเฉพาะที่ และในระบบต่าง ๆ ของร่างกายจำเป็นต้องได้รับการประเมิน วินิจฉัยที่รวดเร็ว ร่วมกับให้การรักษาพยาบาลได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในการพยาบาลทั้ง 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะฉุกเฉิน 2) ระยะวิกฤต 3) ระยะฟื้นฟู ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ควรจัดทำแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้และสูดสำลักควันและพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้และสูดสำลักควัน

References

ธนสิทธิ์ ก้างกอน. 3D Burn resuscitation Application. [Online]. 2020; Available from http://www.cbh.moph.go.th.

ชุมชนนักปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้แห่งประเทศไทย.รายงานผู้ป่วยแผลไหม้ประจำปี งบประมาณ 2560.วารสารแผลไหม้และสมานแผลแห่งประเทศไทย. 2561; 11(1): 10.

ชุมชนนักปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้แห่งประเทศไทย.รายงานผู้ป่วยแผลไหม้ประจำปีงบประมาณ 2561.วารสารแผลไหม้และสมานแผลแห่งประเทศไทย. 2562;12(1):10.

ชุมชนนักปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้แห่งประเทศไทย.รายงานผู้ป่วยแผลไหม้ประจำปีงบประมาณ 2562.วารสารแผลไหม้และสมานแผลแห่งประเทศไทย. 2563;13(1):10.

อรพรรณ โตสิงห์. การพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้ในระยะฉุกเฉินและวิกฤต.[On line].2007; Available from:http://www.ccne.or.th/file1183609791.doc.

ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาพยาบาลบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก. Available From: http://www.rost.or.th.

วิทยา ชาติบัญชาชัย, ธวัชชัย อิ่มพลู, นิตยาภรณ์ สีหาบัว, ธัญรัศมิ์ ปิยวัชร์เวลา, นัฐพรรษ์ พลเขตร์, ณัฐธิรา แดงปรุง. 23 Years Anniversary Trauma Registry1997-2019.2563:49.

ชัยวัฒน์ บุรุษพัฒน์. การบาดเจ็บจากการสูดสำลักควันไฟร้อน.วารสารแพทย์ทหารบก 2562; 72(2): 129.

วณิดา มงคลสินธุ์. มโนทัศน์การพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต. [Online].2013; Available from: http:// www. 58.97.116.pdf.

วิพร เสนารักษ์. การวินิจฉัยการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 12. ขอนแก่น: ห้างหุ้นส่วนจำกัดขอนแก่นการพิมพ์; 2551.

ศิริลักษณ์ กุลลวะนิธีวัฒน์, นภดล คำเดิม, รัชนี เบญจธนัง , ธีรนุช อินทร์ทองน้อย ,นภาพร สุบงกช , พิมพรรณ ภู่ปะวะโรทัย. ปัญหาด้านการพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้.Approaches Toward the Better Care of Burn and Wound. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กรุงเทพวารสาร; 2555: 259-273.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31