การสอบสวนการบาดเจ็บและเสียชีวิต กรณีรถตู้ชนรถพ่วง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น วันที่ 15 พฤษภาคม 2562

ผู้แต่ง

  • สุรพงษ์ ผานาค โรงพยาบาลเวียงเก่า
  • กรวิกา น้อยเชียง โรงพยาบาลภูเวียง

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุจราจร, รถตู้, รถพ่วง, ชนประสานงา, หลับใน

บทคัดย่อ

วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 ศปถ. อำเภอชุมแพ ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลชุมแพ ว่ามีรถตู้ชนกับรถพ่วง บนทางหลวงสาย 228 ชุมแพ - สีชมพู บริเวณแยกทางเข้าบ้านโสกก้อง จึงออกสอบสวนร่วมกับ สคร. 7 ขอนแก่น ในวันที่ 17-23 พฤษภาคม 2562 เพื่ออธิบายเหตุการณ์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิต และแนวทางในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ลดการบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยรวบรวมข้อมูลเอกสารทางการแพทย์ สัมภาษณ์ผู้บาดเจ็บ ผู้ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ สำรวจสถานที่เกิดเหตุ ตรวจสภาพรถ วิเคราะห์ปัจจัยที่นำไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิตด้วย Haddon Matrix Model

            ผลการสอบสวน พบว่า อุบัติเหตุเกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 เวลา 05.30 น. โดยที่รถตู้วิ่งเข้าช่องทางเดินรถด้านขวาอย่างกะทันหันแล้วชนประสานงากับรถพ่วงที่วิ่งสวนมา มีผู้ประสบเหตุทั้งหมด 9 ราย เสียชีวิต 5 ราย บาดเจ็บ 3 ราย อีกหนึ่งรายไม่ได้รับบาดเจ็บ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่นั่งฝั่งขวาของรถตู้ซึ่งเป็นฝั่งที่กระแทกกับรถพ่วงและเกิดการบาดเจ็บภายในช่องอก ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่มีภาวะกระดูกรยางค์หัก สาเหตุหลักของอุบัติเหตุสันนิษฐานว่าเกิดการหลับในของผู้ขับขี่รถตู้ เนื่องจากไม่พบหลักฐานรอยล้อจากการลดความเร็วหรือหักพวงมาลัยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนของรถตู้ และในระหว่างเดินทางรถตู้มีลักษณะโยกซ้ายขวาหลายครั้ง ประกอบกับการดัดแปลงรถตู้และการไม่คาดเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสาร ทำให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บรุนแรง ข้อเสนอแนะ คือ การสร้างความตระหนักร่วมกับใช้มาตรการด้านกฎหมายเพื่อความปลอดภัยของรถตู้โดยสาร เช่น การคาดเข็มขัดนิรภัย การตรวจประเมินรถที่มีการดัดแปลง การจำกัดเวลาของผู้ขับขี่ เป็นต้น ป้องกันการหลับในโดยใช้เส้นจราจรแบบสันนูนและการใช้เทคโนโลยียานยนต์ และการขยายถนนเพิ่มช่องจราจร

References

ณัฐกานต์ ไวยเนตร. แนวทางการสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน (Road Traffic Injury Investigation). นนทบุรี: กลุ่มงานระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

นันทพร กลิ่นจันทร์. การสอบสวนเชิงลึกสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน. สงขลา: โรงพิมพ์ธีระวัฒน์เซ็นเตอร์; 2558.

Runyan CW. Using the Haddon matrix: introducing the third dimension. Inj Prev 1998;4:302-7.

มูลนิธิไทยโรดส์ ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย. รายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย 2559-2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางบก และกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน; 2562.

ศาสตราวุฒิ พลบูรณ์. คู่มือนักสืบอุบัติเหตุรถโดยสารขนาดใหญ่. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน; 2561.

National Highway Traffic Safety Administration. Drowsy driving and automobile crashes. Washington, D.C.: U.S. Department of Transportation; 1998 Apr. Report No.: DOT HS 808 707. 1998.

มูลนิธิไทยโรดส์ ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย. รายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย 2557-2558. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางบก และกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน; 2560.

ประมุข ปราบจะบก. การศึกษาประสิทธิภาพของการใช้แถบสันระนาดบนไหล่ทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2554.

Thianthip Diawkee. นวัตกรรมความปลอดภัย แก้อุบัติเหตุบนถนน. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/41989-นวัตกรรมความปลอดภัย%20แก้อุบัติเหตุบนถนน.html.

Sternlund S, Strandroth J, Rizzi M, Lie A, Tingvall C. The effectiveness of lane departure warning systems-A reduction in real-world passenger car injury crashes. Traffic Inj Prev 2017; 18(2): 225-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31