ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • เจริญ ปราบปรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง

คำสำคัญ:

ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน, การรับรู้, ปัจจัย, ความคาดหวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในจังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยและญาติที่มารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลของรัฐในเขตจังหวัดพัทลุง จำนวน 502 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2563 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยการทดสอบ chi-square ผลการวิจัย พบว่า    มีการใช้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินร้อยละ 27.10 ไม่ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินร้อยละ 72.90 ด้วยเหตุผลด้านความสะดวกที่จะใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมากที่สุด  ร้อยละ 79.00 การรับรู้และความคาดหวังต่อบริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X} = 4.62  S.D = 0.61, gif.latex?\bar{X}= 4.68 S.D = 0.62) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน คือ การมีรถยนต์ส่วนบุคคล(p= 0.017) และสาเหตุของการเจ็บป่วย (p<0.001) การรับรู้การแพทย์ฉุกเฉิน (p=0.001) การแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ(p=0.039) การรักษาพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ (p=0.007) การนำส่งสถานพยาบาล (p= .020) เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทุกคน (p=0.023) และการบริการการแพทย์ฉุกเฉินมาถึงโรงพยาบาลเร็วและผู้ป่วยปลอดภัยกว่า (p=0.008) จากผลการวิจัยสามารถนำไปวางแผนพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความเข้าใจและเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยต่อชีวิตของประชาชนในจังหวัดพัทลุง

References

กัญญา วังศรี. การบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย. ศรีนครินทรวารสารการแพทย์ 2556; 28: 69-73.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รายงานประจำปี 2560 : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2560.

มติชนออนไลน์. สาธารณสุขพัฒนาห้องฉุกเฉินคุณภาพ ปลอดภัยรวดเร็ว [ออนไลน์] 2561 [อ้างเมื่อ 22 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www. matichon.co.th/local/quality-life/news _829787.

ธีระ ศิริสมุด, กิตติพงศ์ พลเสน และ พรทิพย์ วชิรดิลก. ความรู้ ทัศนคติ และเหตุผลที่ไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(4): 668-680.

กิตติพงศ์ พลเสน, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, ณัฐวุฒิ คำนวณฤกษ์. สถานการณ์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย. [ออนไลน์]. 2559. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2563] เข้าถึงได้จาก https://www.niems.go.th/ pdfviewer/index.html.

แสงอาทิตย์ วิชัยยา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนและผู้ป่วยวิกฤติในโรงพยาบาลฝาง. เชียงรายเวชสาร 2561; 10(1): 93-102.

Wayne W.D. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. (6th ed.). John Wiley&Sons Inc. 1995: 180.

สุรภา ขุนทองแก้ว. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2652; 2(1): 30-43.

กิตติพงศ์ พลเสน, ธีระ ศิริสมุด, พรทิพย์ วชิรดิลก. สถานการณ์การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เข้ารับบริการแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารสุขศึกษา 2561; 41(2): 51-63.

ธีระ ศิริสมุด, กิตติพงศ์ พลเสน, พรทิพย์ วชิรดิลก. ความรู้ ทัศนคติ และเหตุผลที่ไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(4): 668-680.

สุภิมล แสนคำปิน. อุปสรรคในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้บาดเจ็บ โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

พิมพ์ณดา อภิบาลศรี, บุญสม เกษะประดิษฐ์. วิเคราะห์ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชากรโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 19: 291-299.

อรรณพ สุขไพบูลย์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา, ธาตรี เจริญชีวกุล. ความพึงพอใจของผู้รับบริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี.[ออนไลน์].2559.[เข้าถึงเมื่อ19 ตุลาคม 2563].เข้าถึงได้จาก: http://journal.nmc. ac.th/th/admin/Journal/2559Vol4No1_54. Pdf.

จิตรประไพ สุรชิต. การรับรู้และความคาดหวังต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวนจังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560; 31(2):271-278.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31