การวิเคราะห์ต้นทุนบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สมจิตร เดชาเสถียร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ต้นทุนต่อหน่วย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.), ระบบบริการปฐมภูมิ, ต้นทุนผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ใน 26 อำเภอ จำนวน 248 แห่ง ใน 26 อำเภอ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยทำการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective Study) และเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่ โดยการศึกษาต้นทุนนี้มองในฐานะผู้ให้บริการ (Provider) เท่านั้น และเป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยต้นทุนค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการจะประกอบไปด้วย ต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ และค่าลงทุน ซึ่งรวมเป็นต้นทุนทางตรงของแต่ละหน่วยบริการแล้วนำมาใช้เกณฑ์การกระจายต้นทุนที่เหมาะสม โดยใช้วิธีการกระจายทุนแบบ Simultaneous Equation Method ผลการศึกษา พบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 248 แห่ง มีต้นทุนรวม มูลค่า 642,715,347.59 บาท  โดยแยกเป็นต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ และต้นทุนของค่าการลงทุนเท่ากับ 434,963,235.87, 124,310,570.32, 83,441,541.40 ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนของต้นทุนค่าแรง (LC) ต่อต้นทุนค่าวัสดุ (MC) ต่อต้นทุนการลงทุน (CC) เท่ากับ 67.64: 19.36:13.00 ซึ่งมีต้นทุนค่าแรงสูงเป็นสามและห้าเท่าของค่าวัสดุ และค่าลงทุน เนื่องจากภารกิจหลัก เน้นการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ทำให้มีภาระของค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่สูงจากข้อจำกัดของทรัพยากรภาครัฐ เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อคนต่อครั้ง เท่ากับ 145.67 บาท หรือมีค่าเฉลี่ยการเข้าใช้บริการ 4.12 ครั้งต่อปี อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้มีข้อจำกัดของการศึกษาต้นทุนหน่วยบริการของผู้มาใช้บริการโดยไม่ได้คำนึงถึงความรุนแรงของโรค ลักษณะของโรค ลักษณะของผู้ป่วย ประเภท และความยากง่ายในการตรวจรักษา แต่คิดเป็นต้นทุนต่อหน่วยบริการโดยเฉลี่ยของผู้มารับบริการทั้งหมดเท่านั้น

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, ประชาธิป กะทา. สุขภาพปฐมภูมิบริการปฐมภูมิจากปรัชญาสู่การปฏิบัติการสุขภาพมิติใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: บริษัท มีดี กราฟฟิก จำกัด; 2550.

World Health Organization. The world health report 2008: primary h ealth care now more than ever. [Online]. 2008 [cited 1 January 2021]; Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/43949.

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์. นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า วารสารนโยบายและแผนสาธารณสุข. วารสารนโยบายและแผนสาธารณสุข. 2549; 9(1): 1-18.

Department of Health Service Support. The Four-Decade Development of Primary Health Care in Thailand. [Online]. 2014 [cited 1 January 2021]; Available from:http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/ifm_mod/nw/phceng.pdf.

กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสา ธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข คู่มือการศึกษาต้นทุนหน่วยบริการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2556.

Kongsawat S, Sriwanichakorn S, Boomtam K, Yana T, Ritsriboon P, Cummul K. Unit cost of primary care for fiscal year 2006: Case study 6 provinces. Nonthaburi: Institute of community based health care; 2006.

Seerasungnern D, Khempakhon P. The Cost of Hospital Services in Sub-district Health Promotion Hospitals in Nhonghong District, Buriram Province, in 2013. J Health Sci. [Online]. 2017 [cited 8 March 2021]. Available from: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/445.

จินตนา อุทัยศิลป์. การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการให้บริการของผู้ป่วยจังหวัดตากปีงบประมาณ 2540. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2541.

จารึก ปิยวาจานุสรณ์. การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการและการคืนทุนของสถานีอนามัยในอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2543 [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2545.

พลากร ภาคภูมิ. การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการของสถานีอนามัย ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ปีงบประมาณ พ.ศ.2541 [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตวิทยาศาสตร์ สาขาบริหารสาธารณสุข]. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.

เผยแพร่แล้ว

2020-12-14 — Updated on 2022-03-19

Versions