การศึกษาย้อนหลังการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ระหว่างปี พ.ศ.2560-2562

ผู้แต่ง

  • รัชดาพร รุ้งแก้ว โรงพยาบาลศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

อักเสบติดเชื้อบริเวณช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก, ช่องว่างระหว่างใต้ขากรรไกรล่าง, อักเสบ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ และการรักษาการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ที่เข้ารักษาเป็นผู้ป่วยใน แผนก โสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่ ตุลาคม 2560- กันยายน 2562 ตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 238 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา ผู้ป่วยที่มารับการรักษา ระหว่างปี 2560- 2562 จำนวนทั้งสิ้น 238 ราย พบว่าเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ย 46.7 ปี (SD= 23.0) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร โรคประจำตัวที่พบมากที่สุดคือโรคความดันโลหิตสูง อาการแสดงที่พบมากที่สุด คือ คอบวม ร้อยละ 53.7 ตำแหน่งการติดเชื้อในคอชั้นลึกที่พบบ่อย คือ Submandibular space ร้อยละ 25.5  โดยมีสาเหตุมาจากฟันผุ ร้อยละ 57.1 ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือการใส่ท่อช่วยหายใจหลังผ่าตัด ร้อยละ 54.1 ระดับการติดเชื้อพบมากที่สุดได้แก่ Abscess ร้อยละ 83.2 การส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียเชื้อที่พบมากที่สุด คือ Klebsiella pneumoniae ร้อยละ 31.1 ซึ่งพบมากในผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ 88.9 ผลการรักษา และระยะเวลานอนรักษาในโรงพยาบาล พบว่า การรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการผ่าตัดระบายหนอง มีวันนอนเฉลี่ย 6.3 วัน ผลการรักษา อาการดีขึ้นและกลับบ้านได้ ร้อยละ 73.9 ข้อเสนอแนะ ภาวะการอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึก เป็นภาวะเร่งด่วนที่ควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที โดยได้รับการผ่าตัดระบายหนองภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิต

Downloads

Download data is not yet available.

References

Suesongtham. P, Charoensombatamorn. S, Ungkhara. G. Deep Neck Infection in Faculty of Medicine Vajira Hospital, Navamindradhiraj University. Vajira Medical Journal. 2018; 62.

ชูเกียรติ วงศ์นิจศีล. Deep neck abscess clinical review at Khon Kaen Hospital. ขอนแก่นเวชสาร 2008; 32(2): 147-54.

Jongprasartsuk. W. Deep Neck Infections: a Study of 127 Cases in Nan Hospital. Lampang Med J 2011; 32(2): 42-50.

Mazita A, Hazim MY, Megat Shiraz MA, SH. PP. Neck abscess: five year retrospective review of Hospital University Kebangsaan Malaysia experience. Med J Malaysia 2006; 61(2): 151-6.

Rigante. D, Spanu. T, Nanni. L, al. e. Deep neck infection complicating lymphadenitis caused by Streptococcus intermediusin an immunocompetent child(2006). BMC Infectious Diseases 2006; 6(61).

Srivanitchapoom. C, Sittitrai. P, Pattarasakulchai. T, Tananuvat. R. Deep neck infection in Northern Thailand. Eur Arch Otorhinolaryngol. 2012 Jan; 269(1): 241-6.

Nikakhlagh S, Rahim F, Saki G, Khosravi AD, Rekabi H, Saki N. Deep neck infections: a case study of 12-year. Asian Journal of Biological Sciences. 2010; 3: 128-33.

Lee. YQ, Kanagalingam. J. Bacteriology of Deep Neck Abscesses: A Retrospective Review of 96 Cases. Otolaryngology-Head and Neck Surgery. 2011; 145 (2_suppl): P161-P.

Suebara. AB, Gongalves. AJ, Alcadipani. FAMC, al. e. Deep neck infection - analysis of 80 cases. Brazilian Journal of Otorhinolaryngology 2008; 74(2): 253-9.

Rigante. D, Spanu. T, Nanni. L, Tornesello. A, Sanguinetti. M, D’Inzeo. T, et al. Deep neck infection complicating lymphadenitis caused by Streptococcus intermedius in an immunocompetent child. BMC Infectious Diseases 2006; 6(61) :1-4.

Ovassapian. A, Tuncbilek. M, Weitzel. EK, Joshi. CW. Airway management in adult patients with deep neck infections: a case series and review of the literature. Anesthesia and analgesia 2005; 100(2): 585-9.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลศรีสะเกษ. สถิติผู้ป่วยปี 2560-2562: โรงพยาบาลศรีสะเกษ. 2563.

รัศมี ซิงเถียรตระกูล. Deep neck infection in Bhumibol Adulyadej Hospital (วิทยานิพนธ์แพทยศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. 2550; 2550: 1-16.

วิชาญ จงประสาธน์สุข. การศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อของเยื่อหุ้มชั้นลึกบริเวณคอในโรงพยาบาลน่าน. ลำปางเวชสาร 2554; 37(2): 42-50.

McKellop. JA, Bou-Assaly. W, Mukherji. SK. Emergency head & neck imaging: infections and inflammatory processes. Neuroimaging clinics of North America 2010; 20(4): 651-61.

Srirompotong. S, Srirompotong. S, Saeseow. P. Retropharyngeal space infection. J Med Assoc Thai 2004; 87(4):4.

สาธิต ก้านทอง. Retrospective study of incidence and treatment outcome of deep neck infection and facial space abscess for 491 patients at Chaiyaphum hospital during 1999 to 2007. ขอนแก่นเวชสาร 2008; 32: 153-64

Alaani A, Griffiths H, Minhas SS, Olliff J, Lee AB. Parapharyngeal abscess: diagnosis, complications and management in adults. Eur Arch Otorhinolaryngol 2005; 262(4): 345-50.

Wiraboonchai. B. Deep Neck Infection in Surin Hospital. Medical Journal of Srisaket Surin Burirum Hospitals 2009; 24(1).

Galioto NJ. Peritonsillar abscess. Am Fam Physician 2008; 77(2): 199-202.

Kauffmann. P, Cordesmeyer. R, Tröltzsch. M, Sömmer. C, Laskawi. R. Deep neck infections: A single-centre analysis of 63 cases. Medicina oral, patologia oral y cirugia bucal 2017; 22(5): 536-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31