ผลการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้กระบวนการ care management อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ, กระบวนการ Care managementบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) ประเมินระดับความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ และ3)ค้นหาปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้กระบวนการ care management ของอำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่นเป็นการวิจัยประเมินผลขณะดำเนินการ (Formative evaluation) คัดเลือกประชากรด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง ประกอบด้วยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุจากเครือข่ายบริการสุขภาพและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนทั้งหมด 418 คน เก็บข้อมูลด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถาม แบบประเมินคัดกรอง แบบทบทวนสรุปรายงานและเวชระเบียน แบบสังเกต ระหว่างเดือน สิงหาคม2563 –เดือนธันวาคม 2563 พบว่าความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุดีขึ้นร้อยละ 16.21 เท่าเดิมร้อยละ 71.38 ลดลงร้อยละ 7.93 ระดับความรู้และทักษะในการดูแลของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ อยู่ในระดับดีร้อยละ 84.69 และ 72.45 อยู่ในระดับพอใช้ร้อยละ 12.24 และ25.51อยู่ในระดับควรปรับปรุงร้อยละ 3.06 และ 2.04 ตามลำดับ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานพบว่า เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานมีภาระงานมาก ขาดความเข้าใจในการดำเนินงาน ขาดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ขั้นตอนในการดำเนินงานมีความยุ่งยากวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณยังไม่ชัดเจน ผู้ช่วยเหลือดูแลบางคนขาดความมั่นใจในการดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้วยกระบวนการ care management ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรมไมซ์ [อินเทอร์เน็ต]. ประเทศไทย: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ; 2562 [วันที่อ้างถึง10สิงหาคม2563].ที่มา:https://intelligence.businesseventsthailand.com/th/insight/aging-trends-01-th.
พิชิต สุขสบาย. การประเมินผลการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของทีมหมอครอบครัว อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560; 31(2): 257-69.
รวีวรรณ ศิริสมบูรณ์, ณภัทรกฤต จันทวงศ์. การวิจัยการประเมินผลโครงการระบบดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ต.บ้านลำ อ.วิหารแดงจ. สระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559; 24(6): 77-85.
ยศ วัชระคุปต์, วรรณภา คุณากรวงศ์, พสิษฐ์ พัจนา, สาวิณี สุริยันรัตกร. ประสิทธิผลของบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง: กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(4): 608-24.
ภาสกร สวนเรือง,อาณัติ วรรณศรี, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์. การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือในชุมชนภายใต้นโยบายการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(3): 437-51.
งานวิจัย/วิชาการ [อินเทอร์เน็ต]. สระบุรี:ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.2560[วันที่อ้างถึง 10 สิงหาคม 2563].ที่มา: http://hpc4. anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1144.
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการฝึกอบรมหลักสูตร care manager.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวน สุนันทา; [ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์].
สำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 7 ขอนแก่น. แนวทางและขั้นตอนการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2561.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 70 ชั่วโมง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2556.
พิศสมัย บุญเลิส, เทิดศักดิ์ พรหมอารักษ์, ศุภวดี แถวเพีย. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน ต.สิงห์โคก อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด. สคร.ที่ 7 จ.ขอนแก่น. 2559; 23(2):79-87.
นัทธมน หรี่อินทร์,ศศิพร ขวานอก, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. การสร้างเสริมสุขภาพขอผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองสองห้อง อ.หนองสองห้อง จ. ขอนแก่น. โรงพยาบาลมหาสารคาม. 2561; 15(1): 53-60.
ศิริพันธุ์ สาสัตย์. การพยาบาลผู้สูงอายุ : ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางในการดูแล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
อรวรรณ ศรีเกิน, มิ่งขวัญ ภูหงษ์ทอง, พรรณิภา ไชยรัตน์. การพัฒนาแนวทางอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (care giver) ในการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2562; 1(2): 39-54.
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, วิชช์ เกษมทรัพย์, วิชัย เอกพลากร, บวรศมลีระพันธ์. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). 2561.
วิรดา อรรถเมธากุล, วรรณี ศรีวิลัย. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.2556; 7(2): 18-28.
อะเคื้อ กุลประสูติดิลก,โสภณา จิรวงศ์นุสรณ์, ณัฐวดี จิตรมานะศักดิ์, ดุษณี ศุภวรรธนะกุล. การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร.
วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2557; 8(2): 35-46.
ระบบรายงาน [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 2563 [วันที่อ้างถึง 10 สิงหาคม 2563]. ที่มา: https://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/main/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว