ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการทันตกรรมภาครัฐของผู้สูงอายุในเขตอำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ปัจจัยสนับสนุน, การเข้าถึงบริการทันตกรรม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการทันตกรรมภาครัฐของผู้สูงอายุในเขตอำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 356 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจากประชากรผู้สูงอายุในเขตอำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น 4,849 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้องทุกข้อมากกว่า 0.50 วิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชเท่ากับ 0.97 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ถึง 31 สิงหาคม 2563 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปหาค่าสถิติเชิงพรรณนาในการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และการหาค่าสถิติเชิงอนุมานด้วยการใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าการเข้าถึงบริการทันตกรรมภาครัฐของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.49 (S.D. = 0.42) ปัจจัยนำความเชื่อเรื่องทันตสุขภาพและปัจจัยสนับสนุนมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง (r = 0.404, r = 0.663, p-value<0.001 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยความตระหนักในการเข้ารับบริการทันตกรรมไม่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการทันตกรรมภาครัฐของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าแรงสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐ แรงสนับสนุนจากครอบครัว แรงสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ซึ่งตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์ การเข้าถึงบริการทันตกรรมภาครัฐของผู้สูงอายุในเขตอำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 49.30 (R2adj = 0.493) ปัญหาอุปสรรคคือผู้สูงอายุขาดความรู้เรื่องสุขภาพฟัน มีปัญหาฟันเหลือน้อยเคี้ยวลำบาก ได้รับบริการการตรวจฟันไม่เพียงพอ และการเดินทางไปรับบริการไม่สะดวก ข้อเสนอแนะคือควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากออกบริการตรวจฟันตามชุมชน และจัดบริการทันตกรรมในพื้นที่ห่างไกล
References
World Health Organization. Health system: Principle integrated care. Geneva: World Health Organization. 2003.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: บริษัทพริ้นเทอรี่ จำกัด; 2561.
กรมอนามัย กระทรวงสาธาณสุข. แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2558-2565. [อินเตอร์เน็ต], 2560 เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.dental2anamai.moph.go.th/download/article/แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ.pdf.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์, 2560.
กิตติคุณ บัวบาน. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากกับคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2560; 16(2-3): 45-56.
Andersen, R.M. Revisiting the behavioral model and access to medical care: does it matter? Journal of Health and Social Behavior. 1995; 36(1): 1-10.
Davidson, P.L., & Anderson, R.M. Determinants of dental care utilization for diverse ethnic and age groups. Advance Dental Research. 1997; 11(2): 254-262.
ชัญญานุช ไพรวงษ์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา, สำเริง แหยงกระโทก, กวี ไชยศิริ และวรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 2559; 4(1): 380-393.
เกศศินี วีระพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลบ่อเกลือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ. พิษณุโลก. 2560.
Penchansky, R. & Thomas, J.W. The concept of access: definition and relationship to consumer satisfaction. Medical Care. 1981; 19(2): 127-140.
มารุต ภู่เพนียด และณปภา ประยูรวงษ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการ ทันตกรรมของผู้สูงอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2561; 18(2): 66-75.
เพิ่มรัตนะ สรีระเทวิน. การเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารทันตาภิบาล. 2562; 30(1): 151-166.
สำนักสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ผลการตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่นประจำปี 2561. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา). 2561.
กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลแวงใหญ่. ผลการตรวจสภาวะทันตสุขภาพกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลแวงใหญ่ พ.ศ.2561. โรงพยาบาลแวงใหญ่. (เอกสารอัดสำเนา). 2561.
กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลแวงใหญ่. ผลการตรวจสภาวะทันตสุขภาพกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลแวงใหญ่ พ.ศ.2562. โรงพยาบาลแวงใหญ่. (เอกสารอัดสำเนา). 2562.
อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. ข้อมูลประชากรอำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา). 2563.
Rosenstock, I. M. Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs. 1974; 2: 328-335.
House, J. S. Work stress and social support. Reading, MA: Addison- Wesley, 1981.
Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nded. New Jersey:Lawrence Erlbaum Associates. 1988.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 1970, 30 (3): 607-610.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2555). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรานุช ปิติพัฒน์. ระเบียบวิธีวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557.
Best, J. W. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall Inc. 1977.
Elifson, K.W., Runyon, R.P., & Haber, A. Fundamentals of social statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill. 1990.
ศิริพร งามขำ, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุรส ทิพยมงคลกุล และจารุวรรณ หมั่นมี. การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์. 2561; 25(2): 91-104.
ศิริรัตน์ รอดแสวง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลทุ่งทอง อำเภอหนองบัวจังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก. นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12 : วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ. 2558.
สุรจิตต์ วุฒิการณ์, พิสิษฐ์ จอมบุญเรือง และไพศาล สรรสรวิสุทธิ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบางมูลนาก อำเภอบางมูลนากจังหวัดพิจิตร. รายงานสืบเนื่องจากรายงานการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 15. 341-357, 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว