ผลลัพธ์ทางคลินิกและต้นทุนที่ประหยัดได้ของการประสานรายการยา แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กุลวดี นันทะเสนา โรงพยาบาลเขาสวนกวาง

คำสำคัญ:

ความคลาดเคลื่อนทางยา, ผลลัพธ์ทางคลินิก, ต้นทุน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคลาดเคลื่อนทางยาที่สามารถป้องกันได้ ต้นทุนที่ประหยัดได้จากการใช้ยาเดิมของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้โดยใช้กระบวนการประสานรายการยา ที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น  ในมุมมองของผู้ให้บริการ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลย้อนหลังระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2563 ในกลุ่มตัวอย่าง 185 ราย ด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าจากกลุ่มตัวอย่าง 185 ราย มีผู้ป่วยที่เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาอย่างน้อย 1 รายการ แรกรับ 13 ราย (ร้อยละ 7.03) และก่อนจำหน่าย 4 ราย (ร้อยละ 2.16)  มีจำนวนรายการยาที่ใช้ก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล   811 รายการ และก่อนจำหน่าย 1,038 รายการ โดยพบความคลาดเคลื่อนทางยาแรกรับ 24 รายการ  (ร้อยละ 2.96) และก่อนจำหน่าย 4 รายการ (ร้อยละ 0.39) ซึ่งเป็นความคลาดเคลื่อนทางยา   2 ประเภท คือ การไม่ได้รับยาเดิม และขนาดยาหรือความถี่ไม่เหมาะสม โดยการไม่ได้รับยาเดิมแรกรับ 22 รายการ (ร้อยละ 91.67) และก่อนจำหน่าย 2 รายการ (ร้อยละ 50) และขนาดยาหรือความถี่ไม่เหมาะสม แรกรับ 2 รายการ (ร้อยละ8.33) ก่อนจำหน่าย 2 รายการ (ร้อยละ 50) ความคลาดเคลื่อนทางยาทั้งหมดเป็นความคลาดเคลื่อนในระดับที่ไม่เป็นอันตรายแก่ผู้ป่วย (Category B และ C) มูลค่ายาเดิมที่สามารถประหยัดได้ 20,259.89 บาท และมูลค่าต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ 16,373.30 บาท สรุปได้ว่าการประสานรายการยาเป็นมาตรการสำคัญที่ใช้เพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา ทำให้เกิดความปลอดภัยและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้

References

กิตติพนธ์ เครือวังค์. ความคลาดเคลื่อนทางยา. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2561; 4(2): 251-265.

ธิดา นิงสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล และสุวัฒนา จุฬาวัฒนทล. การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย 1. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2547.

กรัณฑรัตน์ ทิวถนอม และศุภลักษณ์ ธนานนท์นิวาส. ความคลาดเคลื่อนทางยาและแนวทางป้องกันเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ 2552; 2(1): 195-217.

จันทนี ฉัตรวิริยาวงศ์ และสุรพงษ์ ตุลาพันธุ์. ผลของกระบวนการประสานรายการยาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2561; 15(3): 95-102.

สุมาลี ท่อชู. ผลลัพธ์ทางคลินิกและทางเศรษฐศาสตร์ของการประสานรายการยาแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2556.

Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. [n.p.]: John Wiley & Sons; 1995. p. 177-178.

วรัญญา ญาติปราโมทย์. การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ [ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2562.

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. ข้อแนะนำการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอนเทอร์ไพรซ์; 2560.

สมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2559.

อัมพิกา ขุนค้า. ยาที่ใช้ในภาวะไตเสื่อมและแนวทางการดูแลรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของไต [อินเตอร์เน็ต] 2563 [อ้างเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2563]. จาก http://www.nkh.go.th/nk/Doc_PDF/meetingdoc/9.pdf.

ศิริรัตน์ ไสไทยและโพยม วงศ์ภูวรักษ์. ผลของกระบวนการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย 2555; 5(1): 2-15.

อติภรณ์ ตันธนะเสตะกุล, ธวัช โอวาทฬารพร, รุ่งฟ้า สราญเศรษฐ์ และพิณทิพย์ วัฒนสุขชัย. ผลของการประสานรายการยาผู้ป่วยนอกหลังการพัฒนาโปรแกรมต่อระบบงานบริการจ่ายยาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารเภสัชกรรมไทย 2557; 6(2): 84-91.

จักรี แก้วคำบ้ง. ผลของกระบวนการ Medication Reconciliation ในหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย 2552; 1(2): 162-170.

นวรัตน์ ศรีโอฬาร์. การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาโดยใช้กระบวนการ Medication Reconciliation. วารสาร วิชาการโรงพยาบาลระยอง 2559; 15(30): 1-11.

สุกัญญา นำชัยทศพล. ต้นทุนที่ประหยัดได้ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้จากการแก้ไขปัญหาความคลาดเคลื่อนทางยา ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-12