การเปรียบเทียบความเครียดของนักศึกษากลุ่ม LGBT ในมหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการยอมรับ และกลุ่มที่ไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัว
คำสำคัญ:
การยอมรับจากครอบครัว, ความเครียด, การสนับสนุนทางสังคม, กลุ่ม LGBTบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีกลุ่ม LGBT อายุ 18-25 ปี ในมหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการยอมรับและกลุ่มที่ไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัว จำนวน 70 คน จากสูตรการคำนวณขนาดตัวอย่างประมาณค่าสัดส่วน กรณีไม่ทราบจำนวนประชากรและไม่ทราบความแปรปรวน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป การยอมรับจากครอบครัว ความเครียดจากครอบครัว ที่มีค่าสัมประสิทธิแอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.94 และการสนับสนุนทางสังคมต่อกลุ่ม LGBT ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วย Mann-Whitney U test
ผลการศึกษาพบว่า อัตราการตอบกลับเท่ากับ ร้อยละ 100 โดยทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีการเบี่ยงเบนทางเพศแบบชอบทั้งชายและหญิง (Bisexual) และเป็นนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 4 อยู่ในช่วงอายุ 21-23 ปี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.78±1.07 ปี และ 21±1.35 ปี ในกลุ่มที่ได้รับการยอมรับเป็นนักศึกษาในวิทยาเขตอำนาจเจริญมากที่สุด ส่วนในกลุ่มที่ไม่ได้รับการยอมรับเป็นนักศึกษาในวิทยาเขตศาลายามากที่สุด โดยกลุ่มที่ไม่ได้รับการยอมรับมีค่ามัธยฐานของความเครียดเท่ากับ 12.00 (IQR=10.00) ส่วนกลุ่มที่ได้รับการยอมรับมีค่ามัธยฐานของความเครียดเท่ากับ 1.50 (IQR=5.00) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value<0.001 และมีค่าเฉลี่ยคะแนนการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value=0.012 ดังนั้นควรส่งเสริมความเข้าใจของครอบครัวและบทบาทของสังคมต่อการยอมรับและเข้าใจในการเป็นเพศทางเลือกของกลุ่ม LGBT เพิ่มมากขึ้น
References
2. LGBT Capital. ความหลากหลายที่ทรงพลัง ตอนที่ 1: เมื่อ LGBT คือเสียงใหม่ของธุรกิจ. [ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2562] จาก www.terrabkk.com.
3. พรเทพ แพรขาว. (2556). ความเครียดและภาวะซึมเศร้าของเกย์ กะเทยไทย. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 38(2), 95-104.
4. พรเทพ แพรขาว. (2556). ความสุขของกะเทย เกย์ไทย. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ; 31(1): 142-149.
5. Russell, S. T. (2013). Gender-nonconforming lesbian, gay, bisexual, and transgender youth: School victimization and young adult psychosocial adjustment. Psychology of Sexual Orientation and Gender Diversity, 1(S), 71–80.
6. Liu Mustanski. (2013). A Longitudinal Study of Predictors of Suicide Attempts Among Lesbian, Gay, Bisexual, and Transgender Youth. Volum 42, lssue 3, 437-448.
7. มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.). (2016). ผู้หญิงหลากเฉดสี, ความหลากหลายทางเพศ, ฉบับตุลาคม-ธันวาคม 2559, 1-8.
8. Jackson & Cook, 1999 อ้างใน พิมลพรรณ อิศรภักดี. (2558). ต่างวัยต่างทัศนะต่อความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย. ความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย
9. ณัชชา วิรัชวัฒนกุล. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดของชายรักชาย ความพึงพอใจในความสัมพันธ์ และการสื่อสารเมื่อเกิดความขัดแย้ง กับความพึงพอใจในความสัมพันธ์ของชายรักชาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
10. จิรภา หงส์ตระกูล. (2532). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการ แรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
11. สุกันยา ชลิดาพงศ์. (2540). การเปิดเผยตนเองของผู้หญิงและผู้ชายในองค์กรไทย. วิทยาพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
12. Rohner, R.P. (2007). Introduction to parental acceplance-rejection theory, method, evidence, and implication. USA: University of Connecticut.
13. Ryan,C. (2009). Helping family support their lesbian, gay, bisexual, and transgender, (LGBT) children. Washington, DC: National Center for Cultural Competence, Georgetown University Center for Child and Human Development.
14. Ansari, B., & Qureshi, S. S. (2013). Parental acceplance and rejection in relation with self esteem in adolescents. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in business, 4(11), 552-557.
15. บังอร เทพเทียน เเละคณะ. (2551). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับครอบครัวเข้มเเข็ง, วารสารสาธารณสุขเเละการพัฒนา, สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล, 6(2), 25-38.
16. เตโช ชัยวุฒิ. (2554). ประสบการณ์การเปิดเผยความโน้มเอียงทางเพศของชายรักชายต่อครอบครัว. วิทยาพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
17. กาญรัตน์ อินทุรัตน์. (2554). การเปิดเผยตนเองต่อครอบครัว ของบุคคลที่รักเพศเดียวกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเพศศาสตร์ (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
18. Lewis, R. J., Derlega, V. J., Berndt, A., Morris, L.M., & Rose, S. (2002). An empirical analysis of stressors for gay men and lesbians. Jonurnal of homosexuality; 42(1): 63-88.
19. ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2554). คนข้ามเพศ : ตัวตน วัฒนธรรมย่อย และพื้นที่ทางสังคม. วารสารดำรงวิชาการ; 10(1): 98-125.
20. สุมนทิพย์ บุญเกิด , สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. (2557). ความชุกภาวะซึมเศร้า การรับรู้ปัญหา และรูปแบบการเผชิญปัญหาของกลุ่มหญิงรักหญิงในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ; 37(2): 92-101.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว