การพัฒนาระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การเฝ้าระวังความเสี่ยง, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านวังหิน หมู่ที่ 2 ตำบลสระแก้ว อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น ผู้เข้าร่วมวิจัยได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 62 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป นำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้และการปฏิบัติด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพก่อนและหลังการพัฒนา โดยใช้ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า ระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มี 4 ขั้นตอน คือ 1.แจ้งเตือนเมื่อพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่สงสัยมีความเสี่ยงทางกลุ่มไลน์ 2. เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และ อสม.ออกตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับแจ้ง 3.หากพบว่ามีความเสี่ยงก็ดำเนินการควบคุมความเสี่ยง 4.รายงานผลการตรวจสอบต่อ รพ.สต.สระแก้ว ซึ่งเป็นระบบเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้ร่วมวิจัยทุกขั้นตอนและทุกกิจกรรม แตกต่างจากก่อนการพัฒนาที่การเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. โดยการตรวจเยี่ยมร้านค้าในชุมชนเท่านั้น ผลการทดสอบความรู้และการปฏิบัติด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพหลังการพัฒนามากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และเพื่อให้การพัฒนาระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ต้องใช้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและกลุ่มองค์กรที่มีในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นการพัฒนาที่เกิดจากชุมชนอย่างแท้จริง
References
อาทิตย์ พันธ์เดช. สานพลังผู้บริโภคทั่วไทย ร่วมใจแจ้งเบาะแสผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายร้องเรียน ร้องทุกข์ กับ อย.. วารสารอาหารและยา. 2557; มกราคม-เมษายน: 76-78.
กลุ่มพัฒนาเครือข่าย กองพัฒนศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพเบื้องต้น ฉบับปรับปรุง [อินเทอร์เน็ต]; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์2562] เข้าถึงได้จาก:http://www.oryornoi.com/wp-content/
uploads/2018/09/คู่มือการตรวจสอบเฝ้าระวังโฆษณาฯ.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แนวทางปฏิบัติงานการจัดการภัยจากผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2562] เข้าถึงได้จาก:http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/NewsAdr/uploads/hpvc_747.pdf
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. ราชกิจจานุเบกษา 2553; 109 (ตอนที่ 3): 27-52.
เบญจมาศ บุดดาวงศ์ และคนอื่นๆ. แหล่งต้นทางและเส้นทางการกระจายยาไม่เหมาะสมในชุมชนจาก 8 จังหวัดสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาการกระจายยาไม่เหมาะสมเชิงระบบ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2559; 11 (ฉบับพิเศษ):260-268.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของผู้บริโภคในปัจจุบัน [อินเทอร์เน็ต]; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2562] เข้าถึงได้จาก: https://db.oryor.com/databank/uploads/fda/0723178001471420204_file.pdf
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเปือยน้อย. ผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2562 (รายงาน). ขอนแก่น : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเปือยน้อย; 2562.
ภัทราพร เกษสังข์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action research. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
จุฬาภรณ์ โสตะ. แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
ธนพงศ์ ภูผาลี, สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล, วิษณุ ยิ่งยอด, ตฤณ แสงสุวรรณ, ลัดดา อำามาตย์. รูปแบบการพัฒนาร้านค้าแบบชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลโพนสูง จังหวัดสกลนคร. วารสารอาหารและยา. 2557; กันยายน-ธันวาคม:57-63.
รุจิรา ปัญญา. ผลของการจัดการปัญหาการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอมปน สเตียรอยด์ในชุมชน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนลาน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วารสารเภสัชกรรมไทย ปีที่ 11 ฉบับที่ 3. 2562; กรกฎาคม-กันยายน : 553-563.
ศุภชัย แพงคำไหล และ ชญาณิศา ปินะถา. การพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาการใช้สเตียรอยด์โดยชุมชนมีส่วนร่วมในกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 28 ฉบับที่ 3. 2562; พฤษภาคม–มิถุนายน: 441-454.
นวเรศ เหลืองใส และ ชิดชนก เรือนก้อน. ผลการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเรื่องร้านค้าคุณภาพซึ่งปลอดยาห้ามจำหน่าย. วารสารเภสัชกรรมไทย ปีที่ 11 ฉบับที่ 3. 2562; กรกฎาคม-กันยายน : 638-647.
เพิ่มพรรณ์ ธนะภาส, อัจฉรียา ฟองศรี, กฐิน สมบูรณ และประดิตร ปะนะรัตน์. การจัดการปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตคลินิกชุมชนวัดใหม่ทุ่งคา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารเภสัชกรรมไทย ปีที่ 12 ฉบับที่ 1. 2563; มกราคม-มีนาคม : 251-258.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานฉบับสมบูรณ์ ผลการติดตามและประเมินผลโครงการชุมชนสุขภาพดี [อินเทอร์เน็ต]; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://db.oryor.com/databank/uploads/fda/0351336001558427849_file.pdf.
สุชาดา กาบิน, ทิพาพร กาญจนราช และดุจฤดี ชินวงศ์. การประเมินกระบวนการของการผสมผสานวิธีการสำรวจแบบเร่งด่วนร่วมกับการสนทนากลุ่ม ในการค้นหาปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน : กรณี ศึกษาหมู่บ้านโนนหัวนา ตำบลศรีสุข อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารเภสัชกรรมไทย ปีที่ 11 ฉบับที่ 3. 2562; กรกฎาคม-กันยายน : 625-637.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว