ประเมินผลโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เบญจพร วัฒนศิริเวช โรงพยาบาลเปือยน้อย

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวาน, ประเมินผล, การใช้ยา, ซิปโมเดล

บทคัดย่อ

การวิจัยประเมินผลโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การใช้ยา กิจกรรม กระบวนการ ผลผลิต และผลลัพธ์ของการดำเนินงาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2563 จำนวนทั้งสิ้น 22 ราย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ 1) แบบเก็บผลลัพธ์ที่สำคัญทางคลินิกของโรคเบาหวาน 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อประเมินความรู้ด้านโรคเบาหวาน อาหาร และการใช้ยาเบาหวาน 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อประเมินปัญหาจากการใช้ยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) บรรยายเชิงพรรณา และใช้สถิติเชิงอนุมาน Paired T-Test

ผลการประเมินการดำเนินงาน ตามรูปแบบ CIPP Model ของ Stufflebeam ด้านบริบท พบว่าการให้คำปรึกษาด้านยาแบบเดิมขาดการประเมินผล และเป็นการให้คำปรึกษาแบบทางเดียว ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถาม และไม่ได้วิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยเฉพาะราย ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาของผู้ป่วยได้ตรงประเด็น ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่าการให้คำปรึกษาด้านยาแบบรายกลุ่ม สามารถเพิ่มความรู้ของผู้ป่วยทั้งทางด้านโรค อาหาร และยาได้ ส่วนการให้คำปรึกษาด้านยารายบุคคล ทำให้สามารถค้นหาปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย และช่วยให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจ สามารถแก้ปัญหาการใช้ยาได้ และด้านกระบวนการ ควรเพิ่มจำนวนครั้งในการติดตามผลที่ได้จากการให้คำปรึกษา ด้านผลลัพธ์ที่สำคัญทางคลินิก พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการปรับเปลี่ยน ดังนั้นการติดตามในระยะเวลาสั้น อาจเห็นผลลัพธ์ไม่ชัดเจน

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus ปี 2563. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรากราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

คลีพัตรา ไชยศรี, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช และ ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2013; 31: 67-75.

ปิยะวัน วงษ์บุญหนัก, ปวีณา ว่องตระกูล, หรรษา มหามงคล และ วรัญญา เนียมขำ. การสำรวจปัญหาและพฤติกรรมการใช้ยาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรของผู้สูงอายุกรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเข้น้อย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ 2559; 39: 97-108.

ชื่นจิตร กองแก้ว,อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน และ ชไมพร กาญจนกิจสกุล. การใช้ยาในผู้สูงอายุไทยเขตภาคเหนือตอนล่างประเทศไทย. คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข[อินเตอร์เน็ต]. 2014 [เข้าถึงเมื่อ 2564 มกราคม 10]. เข้าถึงได้จาก http://kb.hsri.or.th/dspace/

วารี จตรุภัทรพงศ์ และพรรทิพา ศักดิ์ทอง. ผลลัพธ์ของการจัดการด้านยาในผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2556; 8: 133-42.

สมพิศ สุขแสน. CIPP Model: รูปแบบการประเมินผลโครงการ. เทคนิคการวางแผนและประเมินผล แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่; 25 พฤศจิกายน 2545; สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. ประเทศไทย; 2545.

รจเรศ หาญรินทร์. การจัดประเภทของปัญหาเกี่ยวกับยา. วารสารเภสัชกรรมไทย 2552; 1: 84-96.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย; 2540.

เพ็ญศรี พงษ์ประภาพันธ์, สุวิมล แสนเวียงจันทร์ และ ประทีป ปัญญา. กระบวนการเสริมพลังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวัดปุรณาวาส. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556; 3: 65-73.

รัตนา เกียรติเผ่า. ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของประชากรกลุ่มเสี่ยงตำบลทัพทัน อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24: 405-12.

กมลลักษณ์ พูนศรี และวัชรี ศรีทอง. ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุ ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17; 21 กรกฎาคม 2560; ณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: สถาบันราชภัฏ; 2559.

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง. นนทบุรี; 2559.

กุลฤดี จิตตยานันต์ และคณะ. ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2555; 13: 110-21.

พิจักษณา มณีพันธุ์ และ กรกมล รุกขพันธ์. ปัญหาด้านยาของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการจัดการปัญหาโดยเภสัชกร. วารสารเภสัชกรรมไทย 2561; 10: 551-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-15