ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกร อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สรายุ มันตาพันธ์ โรงพยาบาลเวียงเก่า

คำสำคัญ:

การใช้สารเคมีทางการเกษตร, เกษตรกร, การเจ็บป่วย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สารเคมีทางการเกษตร การเจ็บป่วย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยของเกษตรกร อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกร จำนวน 350 หลังคาเรือน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยใช้แอพพลิเคชั่น อสม. ออนไลน์ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม 2563

ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างเคยเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีทางการเกษตร ร้อยละ 77.43 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 81.92 เป็นเจ้าของพื้นที่ทำการเกษตร ร้อยละ 16.97 รับจ้างเก็บเกี่ยว ร้อยละ 11.81 รับจ้างฉีดพ่นสารเคมีทางการเกษตร ร้อยละ 4.43 ปัจจุบันยังคงเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีทางการเกษตร ร้อยละ 69.71 มีกลุ่มตัวอย่างที่ปรับมาทำการเกษตรในรูปแบบปลอดสารเคมี ร้อยละ 9.96 กลุ่มตัวอย่างเคยเจ็บป่วยจากพิษของสารเคมีทางการเกษตร จำนวน 44 หลังคาเรือน ร้อยละ 12.57 โดยพบอาการชาปลายมือเท้า ร้อยละ 81.39 รองลงมามีอาการมือสั่น เดินเซ หรือเป็นโรคพาร์กินสัน ร้อยละ 25.58 โรคผิวหนังอักเสบ ร้อยละ 16.27 และโรคไตเสื่อม ร้อยละ 6.98 ผลการวิเคราะห์ Multiple logistic regression พบว่า การรับจ้างเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร (ORadj = 2.46, 95% CI = 1.04 – 5.88) มีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) อธิบายได้ว่าผู้ที่รับจ้างเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร มีโอกาสเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยสูงกว่าเกษตรกรกลุ่มอื่น ๆ ถึง 2.46 เท่า เสนอแนะผู้รับจ้างเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร ควรมีการป้องกันตนเองและเกษตรกรควรมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกวิธีหรือปรับมาทำการเกษตรแบบปลอดสาร

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. สถานการณ์การเกษตรของประเทศไทย ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2563.

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. รายงานสรุปการนำเข้าวัตุอันตรายการเกษตร พ.ศ. 2560. [ออนไลน์]. 2560. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaipan.org/topic/stat

กระทรวงสาธารณสุข. ผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปี 2562. [ออนไลน์] 2563 [สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/

ศูนย์อนามัยที่ 7. การเกษตรในพื้นที่ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. [ออนไลน์] 2563 [สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.kkpho.go.th/i/index.php/component/attachments/download/5830

HDC. โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์] 2563 [สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: kkn.hdc.moph.go.th/hdc/main/

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ผลกระทบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2563.

HDC. ประชากรจังหวัดขอนแก่น [ออนไลน์] 2563 [อ้างอิงเมื่อ 15 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: kkn.hdc.moph.go.th/hdc

ยลดา เข็มศรีรัตน์. การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว. สกลนคร : สำนักงานสาธารสุขสกลนคร; 2561.

อภิมัณฑ์ สุวรรณราช และปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากอันตรายในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

ยุทธการณ์ ไทยลา. การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านแม่ช่อฟ้า ตำบลทุ่งผึ้ง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง [วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. พระเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2555.

ชนิกานต์ คุ้นนก และสุดารัตน์ พิมแสน. พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. ม.ค.-มิ.ย. 2557;16(1).

อิศราภรณ์ หงส์ทอง. ผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพเกษตรกรกลุ่มปลูกหอมแดง ตำบลบึงบอล อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีษะเกษ. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.

ศศิธร แท่นทอง และคณะ. การมีส่วนร่วมสำรวจการใช้สารเคมีในการเกษตรของเกษตรกร ตำบลชอนพี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. ก.ค.-ธ.ค. 2555; 14(2).

กรมสุขภาพจิต. ต้นต่อเซลล์ประสาทเสื่อมจากยาฆ่าแมลง [ออนไลน์] 2562 [สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29843

พิมพร ทองเมือง และยุทธนา สุดเจริญ. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของ ชาวนาจังหวัดสมุทรสงคราม. ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2558. หน้า 371-381.

วรเชษฐ์ ขอบใจ และคณะ. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ : กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ก.ค.-ธ.ค. 2553;4(2).

ประกาศิต ทอนช่วย และเกษแก้ว เสียงเพราะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของเกษตรกรเก็บลิ้นจี้ จังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา. ม.ค.-มิ.ย. 2562;42(1).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-14