การพยาบาลทารกแรกเกิดมีความพิการโดยกำเนิดของผนังหน้าท้อง:กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • กมนนุช เกษสาคร กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

ทารกแรกเกิด, ความพิการโดยกำเนิดของผนังหน้าท้อง, การพยาบาลทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

               บทความวิชาการกรณีศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลทารกที่มีความพิการแต่กำเนิดของผนังหน้าท้องบริเวณสะดือ (Omphalocele) จำนวน 2 ราย โดยรายที่1 ได้รับการผ่าตัดและมีโรคร่วมคือโรคขาดเอ็นไซม์G-6-PD เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน ซีด  ภาวะโพแทสเซียมสูง ปอดบวมแต่กำเนิด หายใจลำบาก ติดเชื้อในทารกแรกเกิดและภาวะช็อค และรายที่ 2 ได้รับการดันลำไส้เข้าไปทั้งหมด มีโรคร่วมคือ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ปอดบวมแต่กำเนิด หายใจลำบาก ใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพตามกรอบแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนเป็นเครื่องมือในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่เหมือนกัน ได้แก่ 1)การแลกเปลี่ยนก๊าซไม่มีประสิทธิภาพ 2)การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ 3)เสี่ยงต่อได้รับน้ำสารอาหารไม่เพียงพอ 4)เสี่ยงต่อการติดเชื้อในร่างกาย 5)เสี่ยงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้า 6)บิดามารดามีความเครียด วิตกกังวล และข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่แตกต่างกัน คือ รายที่ 1)บิดามารดาขาดความมั่นใจในการดูแลแผลต่อที่บ้าน 2)เสี่ยงต่ออันตรายจากน้ำตาลในเลือดต่ำ 3)เสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย  แต่ในรายที่ 2 พบว่า 1)สุขสบายเนื่องจากมีแผลผ่าตัด 2)เสี่ยงต่ออันตรายสมองจากบิลิรูบินในเลือดสูง การพยาบาลที่สำคัญสำหรับกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้แก่ การหายใจ การควบคุมอุณหภูมิกาย การใส่สายสวนกระเพาะอาหาร การได้รับสารน้ำสารอาหาร ส่วนการพยาบาลที่แตกต่างนั้น ในรายที่ 1 คือ การเสริมพลังอำนาจบิดามารดาดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ส่วนรายที่ 2 คือ การให้ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ข้อเสนอแนะในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ คือใช้เป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาล และมาตรฐานการพยาบาลทารกที่มีความพิการโดยกำเนิดของผนังหน้าท้อง

References

Davidson JM, Johnson. TR Jr, Rigdon DT, Thampson BH. Gastroschisis and omphalocele : prenatal diagnosis and perinatal management. PrenatDiagn1954; 4 : 355-63.

Curtis JA, Watson T. Sonographic diagnosis of omphalocele in the first trimes-ter of fetal gestation. J Ultrasound Med 1958; 7: 97-100

Sangkhathat S, Patrapinyokul S, Hangsapruk P, Tadyathikom K. Congenital abdominal wall defects: experience at Songklanagarind hospital. Songkla Med J 1996;14:69-74

Gilbert WM, Micolaides KH. Fetal omphalocele: Associate maiformations and chromosomal defects. ObstetGynecol 1987; 70:633-5

ไพบูลย์ สุทธิสุวรรณ. Omphalocele,Gastroschisisและความผิดปกติอื่นของผนังหน้าท้อง.ในไพบูลย์ สุทธิวรรณ, บรรณาธิการ. กุมารศัลยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ . กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์;2536 หน้า 190-210

Y azbeck S, Ndoye M, Khan AH. Omphalocele: A 25 year experience. J PediatrSurg 1986; 21 : 761-3

วิจิตรา กุสุมภ์. การประเมินสภาพ (Assessment) ใน วิจิตรา กุสุมภ์, บรรณาธิการ. กระบวนการพยาบาลและข้อวินิจฉัยการพยาบาล(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์; 2554. 50 – 53.

นฤมล ธีระรังสิกุล. การพยาบาลผู้ป่วย Omphaloceleและ Gastroschisis. ในเอกสารประกอบการสอนวิชา 10540 การดูแลสุขภาพในภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2545 หน้า46

WHO. Hand hygiene technical reference manual: to be used by health-care workers, trainers and observes of hand hygiene practices. Geneva: World Health Organized; 2009.

บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์. การพยาบาลผู้ป่วยทารกภาวะเฉียบพลันและเรื้อรัง. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2555. 121 – 196, 327 – 373.

ดวงมณี เลาหประสิทธิพร. ภาวะหัวใจวาย. ใน จารุพิมพ์ สูงสว่าง, ประพันธ์ อ่านเปรื่อง, วาณี วิสุทธิ์เสรีวงค์, พิมล ศรีสุภาพ.กวีวรรณ ลิ้มประยูร. บรรณาธิการ. The essentials in pediatric emergency. กทม: บริษัท เฮาแคนดู จำกัด; 2549. หน้า 45-58.

มาลัย มั่งชม. การพยาบาลผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะบิลิรูบินสูงในเลือด. ใน พิมลรัตน์ ไทยธรรมยานนท์, บรรณาธิการ. Essential issues in newborn nursing. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส จำกัด; 2554. 81-87.

กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์ และ วิไล เลิศธรรมเทวี. การพยาบาลทารกแรกเกิด. ใน ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์, ฟองคำ ติลกสกุลชัย, วิไล เลิศธรรมเทวี, อัจฉรา เปรื่องเวทย์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, สุดาภรณ์พยัคฆเรือง, บรรณธิการ. ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 1 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด; 2558. 331 – 464.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30