การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การมีส่วนร่วม, การเฝ้าระวังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการระหว่างเดือน สิงหาคม 2563 ถึง เดือน มีนาคม 2564 ผู้เข้าร่วมวิจัยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 158 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม และแบบตรวจสภาวะทันตสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติ Paired sample t-test ในการเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จากการดำเนินงานวางแผนมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยกระบวนการ AIC ได้ผลลัพธ์ ดังนี้ 1) พัฒนากลยุทธการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมโดยบทบาทของทันตบุคลากร ครอบครัว และชุมชน 2) กำหนดให้มีข้อตกลงด้านทันตสุขภาพ เพื่อควบคุมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ และสนับสนุนกิจกรรมทันตสุขภาพที่บ้าน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) มีระบบส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชน ผลลัพธ์เชิงปริมาณ พบว่า ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เด็กก่อนวัยเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนคราบจุลินทรีย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีค่าฟันดี ไม่มีผุ (Cavity free) เพิ่มขึ้น ความสำเร็จของการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน ติดตาม และประเมินผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อีกทั้งพัฒนาระบบส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
References
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. แบบรายงานทันตสุขภาพ (ท02) เขตสุขภาพที่7 พ.ศ. 2562-2563 จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น; 2563.
โรงพยาบาลพระยืน. แบบรายงานทันตสุขภาพ (ท02) อำเภอพระยืน พ.ศ.2563. โรงพยาบาลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น; 2563.
พรรณี ผานิตานันท์. การพัฒนาเครือข่ายเพื่อส่งเสริมทันตสุขภาพสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนในโรงเรียนสังกัดรัฐบาลและเอกชน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2550; 12(3): 7-16.
Kemmis S. &McTaggart R. The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong Australia: Deakin University Press; 1988.
สุณี วงศ์คงคาเทพ, บุปผา ไตรโรจน์, สาลิกา เมธนาวิน, อลิสา ศิริเวศสุนทร, สุภาวดี พรหมมา, ปิยะดา ประเสริฐสม, และคณะ. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผสมผสานเพื่อลดปัญหาฟันผุในกลุ่มเด็กปฐมวัย. นนทบุรี: ออนพริ้นช้อพ; 2548.
Naidu A, Macdonald ME, Carnevale FA, Nottaway W, Thivierge C, Vignola S. Exploring oral health and hygiene practices in the Algonquin community of Rapid Lake, Quebec. Rural Remote Health. [Online]. 2014. [cite 30 April 2021]; Available from: https://doi.org/10.22605/RRH2975
ปณิธาน สนพะเนา, สันติสิทธิ์ เขียวเขิน, สุพัตรา วัฒนเสน. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารทันตาภิบาล 2562; 30(1): 103-119.
อรจิรา แสนทวีสุข, ภิญญาพัชญ์ ดุงโคกกรวด, ปริญญา ผกานนท์. การพัฒนารูปแบบการดูแลทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีพรหม 2 ต.นาจะหลวย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี. วารสารทันตาภิบาล 2559; 27(2): 1-13.
พิกุลพร ภูอาบอ่อน, วงศา เล้าหศิริวงศ์. การพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อบต.หนองผือ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2555; 19(1): 11-26.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว