การพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก, แบบแผนสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินของโรค ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผนปฏิบัติการพยาบาล และผลลัพธ์การพยาบาลในผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ที่มารับบริการที่คลินิกวัณโรคดื้อยา งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 2 ราย ศึกษาในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2560 – สิงหาคม 2562 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยข้อมูลจากเวชระเบียน การซักประวัติผู้ป่วยและญาติ ร่วมกับการสังเกต ทบทวนข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญ ทีมสหสาขาวิชาชีพ และเครือข่ายงานวัณโรคทั้งในและนอกโรงพยาบาล การใช้กระบวนการพยาบาลกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 เป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานที่รับการรักษาแล้ว ผลการรักษาล้มเหลว ซึ่งเกิดจากโรคที่มีการดื้อกับยารักษาหลายขนาน โดยผู้ป่วยและครอบครัวมีความรู้และความเข้าใจในโรคและการรักษาที่ได้รับ มีจุดมุ่งหมายในการรักษาต้องการหายจากโรคที่เป็นอยู่ ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 เป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานที่รับการรักษาและมีโรคถุงลมโป่งพองเป็นโรคร่วม จากการรักษาด้วยสูตรยาวัณโรคดื้อยาหลายขนานพบว่าผู้ป่วยรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ไม่มาติดตามการรักษาตามนัด ทำให้เป็นวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก และมีผลข้างเคียงของยาที่รักษา ญาติผู้ป่วยมีความรู้และความเข้าใจเรื่องโรค แต่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ดังนั้นบทบาทพยาบาลต้องสามารถประเมินผู้ป่วยได้ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ วางแผนการพยาบาลเพื่อกำกับ ดูแลและติดตามผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมากในชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมินและดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีและหายจากโรค ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ควรนำไปพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาล และมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก
References
World Health Organization. Companion handbook to the WHO guidelines for the programmatic management of drug-resistant tuberculosis. Geneva, Switzerland: WHO; 2014. p. 17-22.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออบรมพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานวัณโรค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2563.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเลือกใช้สูตรยารักษาวัณโรคดื้อยา ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2563.
พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล&แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์อักษร; 2561.
วิพร เสนารักษ์. การวินิจฉัยการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่12. ขอนแก่น: ห้างหุ้นส่วนจำกัดขอนแก่นการพิมพ์; 2551
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2559.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติในการดำเนินงานระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยาเชิงรุก สำหรับยารักษาวัณโรค รายการใหม่ยาที่จดข้อบ่งชี้ใหม่และแผนการรักษาใหม่ ในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2559.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การคัดกรองเพื่อคันหาวัณโรคและวัณโรคดื้อยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2560.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้าน วัณโรค พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2560.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคในไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2561.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2561.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว