การสร้างธรรมนูญสุขภาพสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • วงเดือน พระนคร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพรเจริญ

คำสำคัญ:

ธรรมนูญสุขภาพอำเภอ, การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพ, การพัฒนาคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการสร้างและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการของประชาชนอำเภอบุ่งคล้า กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) คือ ตัวแทนคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอบุ่งคล้า และประชาชนรวม 121 คน ดำเนินการระหว่างเดือน พฤษภาคม 2562 ถึง เมษายน 2563 เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม แบบบันทึกภาคสนาม การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย กระบวนการสร้างและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ มี 4 ขั้นตอน 1) ศึกษาสถานการณ์  2)  จัดทำธรรมนูญสุขภาพ 8 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1)สร้างความเข้าใจผู้บริหารและผู้นำชุมชน 2)จัดตั้งคณะทำงานธรรมนูญสุขภาพระดับตำบล 3)ทบทวนข้อมูลและสถานการณ์ปัญหาพื้นที่ 4)ออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 5)ยกร่างธรรมนูญสุขภาพตำบล 6)จัดเวทีประชาคมหมู่บ้านพิจารณาร่างธรรมนูญสุขภาพตำบลเชื่อมโยงกับการจัดทำแผนพัฒนาตำบล 7) ปรับปรุงร่างและจัดเวทีพิจารณาธรรมนูญสุขภาพตำบล 8) ประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพตำบล 3) การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพ หลังประกาศใช้ 2ขั้นตอน 1) ยกร่างธรรมนูญสุขภาพ อำเภอ และประชาพิจารณ์ 2) ขั้นดำเนินการ 3) ประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพอำเภอในการขับเคลื่อน โดยมีร่างประกาศประกอบด้วย 10 หมวด 83 ข้อ มีการสร้างธรรมนูญสุขภาพระดับอำเภอเชื่อมโยงกับธรรมนูญสุขภาพระดับตำบลและแผนการจัดการของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น 3 แห่ง โดยมีประเด็นการจัดการขยะเป็นประเด็นในการขับเคลื่อน จนเกิดนวัตกรรมหมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ 4) การประเมินผล การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพในระดับน้อย (gif.latex?\bar{x}=1.66, SD=0.13) พฤติกรรมการจัดการขยะในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}= 1.97, SD=0.20)

References

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ก้าวย่างทางเดินสู่ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับแรก. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2555.

ไพศาล ลิ้มสถิตย์. ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ : มิติทางกฎหมาย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2550.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2550.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 8 อุดรธานี. คู่มือการประเมินเสริมพลังธรรมนูญสุขภาพ. อุดรธานี: โรงพิมพ์ศักดิ์ศรีอักษรการพิมพ์; 2560.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. รายงานประจำปี พ.ศ. 2557 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานสานพลัง 7. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2557.

Kemmis. S, McTaggart. R. The Action Research Reader. 3 ed. Deakin University: Deakin University Press; 1988.

วราพร วันไชยธนวงค์, พิมพ์ใจ อุ่นบ้าน, พจนีย์ มนัสพรหม. การพัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2560;23(1):43-53.

ทนงศักดิ์ พลอาษา, ประเสริฐ ประสมรักษ์. ผลการประเมินความเข้มแข็งของการสร้างและใช้ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ในมุมมองของประชาชน จังหวัดอำนาจเจริญ. ศรีนครินทร์เวชสาร: 2562;34(4):379-85.

สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.). นโยบายสาธารณะ:เครื่องมือการขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชน. การประชุมมหกรรมสุขภาพชุมชน ครั้งที่ 2 จากความรู้สู่ระบบจัดการใหม่ จินตนาการเป็นจริงได้ไม่รู้จบ วันที่ 19 มกราคม 2555 ณ อาคารอิมแพ็ค คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี. 2550. กฤตยา อาชวนิจกุล, กุลภา วจนสาระ. บทสำรวจวาทกรรมและการเมืองเรื่องสมัชชาสุขภาพ. วารสารสังคมศาสตร์:2551;20:114-42.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ก่อ – ร่าง – สร้าง – เคลื่อน บทเรียนธรรมนูญสุขภาพ 6 พื้นที่ ธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพสู่ตำบลสุขภาวะของประชาชน ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554. นนทบุรี. 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30