การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
โรค COVID – 19, การป้องกันและควบคุมโรค, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรค COVID - 19 ดำเนินการตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม 2564 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 105 คน มาจากตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนชุมชน ซึ่งถูกคัดเลือกแบบเจาะจงให้เข้าร่วมในกระบวนการ 4 กระบวนการหลัก มีเครื่องมือ 4 ประเภทที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเพื่อศึกษาลักษณะประชากร กระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ แผนงานและโครงการในการดำเนินงาน และแบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความตระหนักถึงปัญหาและสาเหตุโรค ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรค ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค ขั้นตอนที่ 4 การติดตามและประเมินผลป้องกันและควบคุมโรค เมื่อนำรูปแบบไปทดลองใช้ พบว่า ภาคีเครือข่ายได้ดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรค COVID - 19 ตามขั้นตอน 4 ขั้นตอน ครบทุกกิจกรรม และผลการประเมินรูปแบบพบว่า มีความสอดคล้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีการยอมรับได้ในการนำไปปฏิบัติ
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2563.
World Health Organization. Report of the WHO-China Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) [Online]. 2020. [cited 2 April 2021]; Available from: https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/who-china-joint-mission-on-covid-19-final-report.pdf.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 575 [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [ เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม 2564]; เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation_more.php.
สุรชัย โชคครรชิตไชย. การระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ในประเทศไทย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2563; 10(1): 12-5.
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 23 มกราคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no7-100163.pdf.
บัญชา เกิดมณี, สุรชัย ธรรมทวีธิกุล, ญานพินิจ วชิรสุรงค์, บดินทร์ ชาติสุขบท, สมบัติ ทีฆทรัพย์. แนวคิดและทิศทางการแก้ปัญหาโควิด-19. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 2563; 20(1): 1-12.
ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19). รายงานสถานการณ์การตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) (เอกสารอัดสำเนา). นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2564.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยาง. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 2564 (เอกสารอัดสำเนา). นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา; 2564.
กาญจนา ปัญญาธร, กฤษณา ทรัพย์สิริโสภา, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, วรรธนี ครองยุติ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค COVID-19 บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี ปีที่ 32 ฉบับที่ 1มกราคม - มิถุนายน 2564. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 25 มีนาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/download/247388/169423/
ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี, ภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขปีที่ 30 ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 27 กรกฎาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/255056/173521
ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, ทักษิกา ชัชวรัตน์. ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2564]; เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/243309/165906
เดชา บัวเทศ, วันเพ็ญ บัวเทศ, ระพีพร บูรณคุณ. การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายของแกนนาชุมชนบ้านหนองคณฑี หมู่ที่ 4 ตำบลพุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. สระบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 สระบุรี; 2547.
บัณฑร อ่อนคา. รูปแบบการแก้ปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่โดยเน้นบทบาทชุมชนและระบบกลไกของรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนที่เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน: กรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันยาเสพติดให้โทษ; 2539.
อคิน รพีพัฒน์. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยในการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข; 2547: 49.
ปาริชาติ บัวเจริญ. การพัฒนาแผนกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. [ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาบริหารศาสตร์]. สำนักงานบัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว